“ปากีสถานบรรลุข้อตกลง TTP หยุดยิงเป็นเวลา 1 เดือน” เส้นทางสู่สันติภาพในปากีสถานอาจกำลังเริ่มต้นขึ้น เมื่อรัฐบาลอิมราน ข่าน สามารถบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่ม TTP ได้ ซึ่งอาจพลิกสถานการณ์ปากีสถานให้ดีขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
Politics
แม้ว่ากลุ่มตอลิบานประกาศชัยชนะบนดินแดนอัฟกานิสถานจะสามารถประกาศชัยชนะบนดินแดนอัฟกานิสถานได้แล้วก็ตาม แต่ในช่วงช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ กลุ่มตอลิบาน อาจต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายมิติ ทั้งในเรื่องการเมืองการปกครอง และความสัมพันธ์ระดับนานาชาติ และอีกหลายประเด็นที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงและที่จับตามองของทั่วโลก
ประเทศอัฟกานิสถานอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาอย่างยาวนาน ตลอดระยะเวลายาวนานเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่เหตุการณ์ก่อวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือเหตุการณ์ 9/11 ที่สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้นโยบายการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สงครามความขัดแย้งที่ยาวนานกำลังจะยุติลงจากนโยบายถอนกองกำลังทหารของสหรัฐอเมริกาภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 จึงเป็นที่น่าจับตามองความเป็นไปที่จะเกิดขึ้นกับประเทศอัฟกานิสถานหลังจากนี้
ปัจจุบันวัคซีนเป็นสิ่งล้ำค่าและเป็นที่ต้องการของรัฐบาลในชาติต่างๆ อย่างมาก จึงไม่แปลกหากประเทศไหนสามารถผลิตวัคซีนย่อมเนื้อหอมและเป็นที่ต้องการของชาติอื่นๆ ทำให้วัคซีนกลับกลายเป็นเครื่องมือต่อรองในเกมการเมืองไปด้วยเช่นกัน
การหวานคืนสู่อำนาจของตระกูล “ราชปักษา” ครั้งยิ่งใหญ่ ได้นำมาซึ่งคำถามว่า ศรีลังกากำลังเผชิญหน้ากับความท้ายทายที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ความเป็นประชาธิปไตยของชาวศรีลังกากำลังอยู่ในภาวะวิกฤติหรือไม่ การเดินเกมทางการเมืองของตระกูล“ ราชปักษา” ล้วนแล้วแต่เป็นความท้าทายและมีนัยสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศในอนาคตทั้งสิ้น การเดินเกมทางการเมืองของตระกูล“ ราชปักษา” จะกลับมามีอำนาจเบ็ดเสร็จในการเมืองของศรีลังกาหรือไม่ คำถามเหล่านี้กำลังเป็นคำถามที่สำคัญและเป็นประเด็นร้อนแรงในการเมืองศรีลังกา
ข้อพิพาทเขตแดนระหว่างอินเดียกับเนปาลปะทุขึ้นหลังจากสภาเนปาลมีมติเห็นชอบต่อการกำหนดเขตแผนที่ประเทศขึ้นใหม่ ซี่งมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเนปาล ติดกับพรมแดนที่กั้นระหว่างจีนและอินเดีย เป็นที่น่าจับตามมองว่าข้อพิพาทในครั้งนี้จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับเนปาลอย่างไร
ภูมิภาคเอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากที่สุดในโลกสถานการณ์การแผ่กระจายเชื้อโควิด 19 ทำให้แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้กำลังเผชิญกับอุปสรรคทั้งในแง่ของการใช้มาตรการป้องกันการแพร่กระจายและผลกระทบทางเศรษฐกิจครั้งใหม่
อาจกล่าวได้ว่าอินเดีย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่อาจจะมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในโลก สำหรับประเทศที่มีประชากรมากกว่า 1.35 พันล้านคน แต่ ณ วันที่ 10 เมษายน 2020 อินเดียมีผู้ติดเชื้อเพียง 6,725 ราย เสียชีวิต 229 ราย ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรระดับมากกว่า 1 พันล้านคน และแน่นอนว่านี่ถือเป็นการลบคำสบประมาทของหลายๆ คนที่มักจะเข้าใจว่าอินเดียคือประเทศยากจน ล้าหลัง และด้อยพัฒนา
องค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) คือความร่วมมือระหว่าง 8 ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียใต้ ถึงแม้ความร่วมมือระหว่างประเทศจะมีลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ทำให้รัฐบาลอินเดียส่งคำเชิญไปยังประเทศสมาชิกในกลุ่ม SAARC ทุกประเทศ เพื่อให้ผู้นำของทั้ง 8 ประเทศมาร่วมประชุมร่วมกันผ่านระบบทางไกล (VDO Conference) ครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่ผู้นำของกลุ่ม SAARC ได้มาพบปะร่วมกัน
โดย ดร. อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม นักวิจัยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ครั้งแรกที่ MAPPING EXTREMISM IN SOUTH ASIA วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 https://xstremarea.home.blog/2019/11/14/babri-mosque-ram-temple-case/ ภาพความขัดแย้งในเอเชียใต้ได้ฉายซ้ำให้เราและท่านทั้งหลายเห็นอยู่เป็นประจำ จนบางครั้งหลายคนอาจรู้สึกว่า “ภาพเหล่านี้เริ่มกลายเป็นความเคยชินไปโดยปริยาย” ก่อนหน้านี้หลายคนคงรับรู้ความขัดแย้งในรัฐจัมมูและแคชเมียร์ของอินเดีย หลังจากรัฐบาลนเรนทรา โมดี (Narendra Modi) ผู้นำพรรคภารติยะ ชนะตะ (BJP) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2019 ที่ผ่านมาเพื่อเปลี่ยนสถานะของพื้นที่ดังกล่าวผ่านนโยบาย “สันติภาพในแคชเมียร์” ที่พรรค BJP ได้โฆษณาหาเสียงไว้ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2019 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในเวลาต่อมา สำหรับพรรค BJP ถือว่าการจัดการ “สันติภาพในแคชเมียร์” นั้นเป็นนโยบายเร่งด่วนเพื่อขอบคุณชาวอินเดียที่ได้โหวตให้ตนได้ทำหน้าที่รัฐบาลในสมัยที่ 2 ทั้งฝ่ายพรรคภารติยะ ชนะตะ (BJP) และพรรคครองเกรสแห่งอินเดีย […]