คำปราศรัยของ ชวาหะร์ลาล เนห์รู ต่อที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติอินเดียในช่วงค่ำคืนของวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงเวลาเที่ยงคืนที่เป็นกำหนดที่อินเดียจะได้รับเอกราชนั้นถือว่าเป็นวาทะชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำปราศรัยที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “A Tryst with Destiny - นัดหมายกับโชคชะตา” ฉายภาพให้เราเห็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ผ่านมานับพันปี มาจนถึงชัยชนะของอินเดียเหนือการปกครองของอังกฤษ
วาทะเอเชียใต้
คำปราศรัยต่อที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติปากีสถานของ มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ชิ้นนี้ถือเป็นวาทะชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ในคำปราศรัยต่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติปากีสถานที่ประกอบไปด้วยผู้นำทางศาสนา ชนชั้นศักดินาและชนชั้นนำทางการเมือง จินนาห์ได้ฉายภาพอนาคตของปากีสถานตามแนวทางของรัฐฆราวาส ที่แยกศาสนาออกจากการเมือง เขากล่าวถึงปากีสถานที่เปิดกว้างและเป็นธรรม ดินแดนที่ประชาชนมีอิสรภาพในการนับถือศาสนาและมีความเท่าเทียมกันภายใต้กรอบของกฎหมาย
“โขล โท” หรือ “เปิดมันออก”เป็นเรื่องสั้นที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานของมันโตที่มีผู้อ่านกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ในปีที่เรื่องสั้นเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ มันได้ชื่อว่าเป็นเรื่องสั้นที่ฉาวโฉ่เรื่องหนึ่งของยุคสมัย ไม่ใช่เพียงแค่ด้วยโครงเรื่องหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวละครเท่านั้น แต่ประเด็นที่เรื่องสั้นเรื่องนี้ทำให้ทางการไม่พอใจก็คือการนำเสนอว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูและชาวมุสลิม หรือระหว่างชาวฮินดูสถานและชาวปากีสถาน แต่มันคือความรุนแรงที่เกิดจากสันดานดิบและความป่าเถื่อนที่ซุกซ่อนอยู่ในกายของมนุษย์
ไซตูน บาโน สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งวงการวรรณกรรมภาษาปัชโต ผู้เป็นแรงขับเคลื่อนสิทธิสตรีผ่านงานวรรณกรรมเกี่ยวกับการศึกษาและความเข้าใจสังคมปากีสถาน โดยเฉพาะเรื่องราวของสตรีในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตนเอง
เมื่อนึกถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชของอินเดีย พวกเราโดยส่วนใหญ่ก็มักจะนึกถึงมหาตมาคานธีก่อนเป็นลำดับแรก หากแต่ยังมีบุรุษร่างใหญ่ที่มักจะยืนเคียงข้างท่านมหาตมา นานว่า ฃ่าน อับดุล ฆอฟฟัร ฃ่านได้รับการขนานนามว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่า “คานทีแห่งจังหวัดพรมแดน” และ “ราชาแห่งฃ่าน หรือ บาดชาห์ฃ่าน” จากความรักในสัจจะและอุดมการณ์ที่จะสร้างสังคมอันสันติและยุติธรรมที่พวกเขามีร่วมกัน
เนื้อเย็น หรือ ฐัณฑา โคศฺต (ठंडा गोश्त) เป็นเรื่องสั้นสุดอื้อฉาวของ ซะอาดัต ฮะซัน มันโต ผู้เขียนโตบา เตก ซิงห์ เรื่องสั้นที่ให้ภาพความโหดร้ายของความขัดแย้งระหว่างชุมชนในช่วงของการแบ่งแยกอินเดีย ค.ศ. 1974 ได้ดีที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง
ร่วมรำลึกเหตุการณ์ร่แบ่งแยกอินเดียในปี ค.ศ. 1947 ผ่านบทกวีบทที่สร้างชื่อให้กับอมฤตา ปริตัม เรื่อง อัช อาขํา วาริศ ชาห์ นูน หรือ “วันนี้ฉันจะพูดกับวาริศ ชาห์” คำตัดพ้อของอมฤตาต่อกวีชาวปัญจาบที่มีนามว่า วาริศ ชาห์ กวีแห่งปัญจาบ เพื่อปลุกเรียกให้วาริศ ชาห์ให้ฟื้นตื่นจากหลุมศพเพื่อจดจารกวีบทใหม่ในหนังสือแห่งรัก
ความฝันของสุลตาน่า ของ โรเกญา สาขาวัต โฮเซน หรือที่รู้จักกันในนาม เบกัม โรเกญา พยายามฉายภาพอนาคตของวิทยาศาสตร์และสังคมอุดมคติในโลกที่เพศหญิงมีอำนาจที่จะกำหนดความเป็นไปของโลก ที่แตกต่างจากโลกของวิทยาศาสตร์ที่เพศชายเป็นหัวเรือและคัดหางเสือ ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา และชี้ชวนให้เราคิดถึงโลกทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้หากเราเปลี่ยนมุมมองและคุณลักษณะของคนที่มาเป็นผู้นำ
คาบูลิวาลลา หรือ พ่อค้าจากคาบูล เป็นเรื่องสั้นคุรุเทพ รพินทรนาถ ฐากูรเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1892 เรื่องสั้นที่เล่าเรื่องมิตรภาพระหว่างพ่อค้าชาวปาทานและเด็กหญิงชาวบังกาลีเรื่องนี้อยู่ในดวงใจของผู้อ่านทั่วโลกมานานนับร้อยปี จากเรื่องราวน้ำใจเล็กน้อยๆ และความเอื้ออารีของผู้คนในห้วงเวลาขัดสนเมตตากรุณานั้นจะมีพลังส่งผลต่อจิตใจ และเป็นความงดงามที่จะคงอยู่ไปนานแสนนาน โดยเฉพาะในยุคสมัยที่ต้องการพลังสว่างจากเรื่องสั้นเรื่องนี้มากกว่ายุคไหนๆ เช่นนี้
โตบา เตก ซิงห์ ของ ซะอาดัต ฮะซัน มันโตเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกๆ พูดถึงเหตุการณ์การแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานและยังถือว่าเป็นงานเขียนที่ทรงพลังมากที่สุดชิ้นหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ในครั้งนั้น เรื่องสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์การแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานโดยใช้ฉากในโรงพยาบาลบ้าป็นทั้งการเปรียบเปรยและเสียดสีของโศกนาฏกรรมแห่งความวิปลาสครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ