![](https://southasiainsight.com/wp-content/uploads/2020/07/ram-rath-yatra-01-1.png)
โดย พิชชาภา พรชัย
นิสิตสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เผยแพร่ครั้งแรกที่ MAPPING EXTREMISM IN SOUTH ASIA วันที่ 29 มีนาคม 2562
https://xstremarea.home.blog/2019/03/29/290319/
ความเป็นมาของรามรถยาตรา (Ram Rath Yatra)
รามรถยาตรา เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1990 หรือประมาณ 29 ปีที่แล้ว เป็นอีกเหตุการณ์ที่มีจลาจลนองเลือดระหว่างศาสนาครั้งยิ่งใหญ่ของอินเดียและมีภาพสะท้อนความเป็นฮินดูนิยมแฝงเร้นอยู่ รามรถยาตรา คือ การเดินขบวนแสวงบุญเพื่อสร้างวัดพระรามของชาวฮินดูและถอดถอนมัสยิดส์บราบริของชาวมุสลิม ซึ่งเรื่องราวของมัสยิดบาบรี มีฉนวนมาจากข้อพิพาททางประวัติศาสตร์แล้วเชื่อมร้อยไปสู่ความขัดแย้งทางด้านศาสนาในเวลาต่อมา
มัสยิดบาบรีก่อตั้งขึ้นเมื่อชาวมุสลิมรุกรานพื้นที่อนุทวีปอินเดียในศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์โมกุล (กลุ่มชนที่อพยพมาจากเอเชียกลาง) ได้เข้ามาสถาปนาอำนาจของราชวงศ์โมกุล จักรพรรดิบาร์บู ( Zahir-ud-din Muhammad Babur ) กษัตริย์องค์แรกผู้สถาปนาราชวงศ์โมกุล สั่งให้ทุบวิหารของพระรามซึ่งเป็นสัญลักษณ์และศูนย์รวมทางความเชื่อของชาวฮินดู แล้วดำริให้สร้างมัสยิดบาบรีขึ้นแทนที่ในเขตเมืองอโยธยา ซึ่งแน่นอนว่าการสร้างศาสนาสถานของอิสลามในพื้นที่ศักสิทธิ์ของฮินดู นำมาซึ่งความไม่พอใจให้กับชาวฮินดูตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีความรุนแรงมากเท่าใด เพราะในขณะนั้นมีผู้ปกครองเป็นชาวมุสลิม ส่วนชาวฮินดูจึงทำได้เพียงปรับสังคมของตนในดำรงอยู่และมีกฎเคร่งครัดมากขึ้น [1]
![](https://southasiainsight.com/wp-content/uploads/2019/10/11.png)
โฉมหน้าของฮินดูสุดโต่ง
แม้การเดินขบวนรามรถยาตราอาจถูกฉายให้เห็นการเรียกร้องสิทธิความเป็นธรรมและฐานที่มั่นทางจิตใจของชาวฮินดู ทว่าขบวนของนายลาล กฤษณะ อัดวานิ ในครั้งนั้นเต็มไปด้วยการใช้แนวคิดทางศาสนานิยม จึงกล่าวได้ว่าความไม่พอใจทางศาสนาถูกขับเคลื่อนและหนุนเสริมด้วยการเมือง กอปรกับพรรคภารติยะชนตะ เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักของฮินดูเพื่อให้เกิดการเดินขบบวนไปยังเมืองอโยธยาและสร้างวัดพระราม พรรคภารติยะ ชนตะเป็นพรรคที่มีความเป็นชาตินิยมฮินดู ใช้หลักฮินดูทวา (Hindutva) มาสนับสนุน เชิดชู รัฐแบบฮินดู [2] ซึ่งในทางปฏิบัติหมายถึงการสร้างความเป็นใหญ่ของศาสนาฮินดูในสังคมอินเดีย ตั้งแต่โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี กฎหมาย ซึ่งควรจะเป็นแบบฮินดู รวมทั้งการเป็นประชากรส่วนมากของประเทศ มีผลทำให้พวกเขาคำนึงแต่ความชอบธรรมของชาวฮินดูเป็นส่วนใหญ่ (ชาวฮินดูเป็นประชากรร้อยละ 80 ของประเทศ) และมุ่งสร้างสังคมฮินดูให้ความเป็นใหญ่เหนือศาสนาอื่น ๆ ที่จะพูดว่าเป็น “ศาสนาของชนกลุ่มน้อย” ที่อยู่ในประเทศเดียวก็คงไม่ผิดนัก
แนวคิดแบบนี้ก่อให้เกิดทิฐิต่อศาสนาตรงข้ามและส่งผลให้เกิดการแบ่งแยก ความไม่เท่าเทียมระหว่างศาสนา ไม่เพียงพรรคภารติยะ ชนตะที่มีแนวคิดแบบนี้และตั้งตัวเป็นแกนนำชาวฮินดู หากแต่ยังมีกลุ่มแนวร่วมอุดมการณ์เดียวกันอย่าง กลุ่มสวายัมเสวัก สังฆ์ (RSS : Rashtriya Swayamsevak Sangh) และ องค์กรชาตินิยมฮินดู (VHP : The Vishva Hindu Parishad ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์ฮินดูสุดโต่งที่สนับสนุนการก่อเหตุรุนแรงอย่างเปิดเผยและค่อยช่วยพรรคภารติยะ ชนตะในเหตุการณ์รามรถยาตราอีกด้วย
การปลุกกระแสรามรถยาตรานั้นไม่ใช้เพียงการเรียกร้องผ่านการแสวงบุญอย่างเดียว แต่ยังเป็นการแสดงอิทธิพลของชาวฮินดูที่ถูกสนับสนุนโดยพรรคฮินดูชาตินิยมอย่าง ภารติยะ ชนตะ และแนวร่วมที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ฮินดูอย่างสุดโต่ง เพื่อการแสดงอิทธิพลและอำนาจผ่านความรุนแรง เพราะตามเส้นทางที่ขบวนดังกล่าวได้เคลื่อนผ่าน นอกจากจะมีประชาชนชาวฮินดูที่ติดตามรถนายลาล กฤษณะ อัดวานิ นับหมื่นคนแล้ว ยังมีกลุ่มแนวร่วมเบื้องหลังที่คอยผลักดันชาวฮินดูให้ก่อเหตุความรุนแรงต่อชาวมุสลิมในฐานะเป็นขั้วตรงข้าม ส่งผลให้ชาวฮินดูก่อความรุนแรงต่อกลุ่มชาวมุสลิม จนท้ายที่สุดเกิดการวิวาทและจลาจล มีรายงานข่าวว่า เกิดเหตุจลาจลไป 175 เหตุการณ์ และประชาชน 700 คนเสียชีวิต [3] และเมื่อเหตุการณ์จลาจลเกิดขึ้นเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์และใช้กำลังปราบปราม ส่งผลให้ชาวมุสลิมเสียชีวิตไปหลายร้อยคน
เมื่อขบวนได้เดินทางถึงเมืองอโยธยาแล้ว นาย ลาล กฤษณะ อัดวานิ ได้ขึ้นปราศรัยโดยมีใจความว่าด้วยความสำคัญของพระรามและวรรณกรรมรามายณะเพื่ออ้างอิงถึงสถานที่ดังกล่าว ว่าเป็นที่เคารพบูชาที่สำคัญของชาวฮินดู และมีเนื้อหาเหน็บแนมต่อการไม่ยอมรับพระรามของชาวมุสลิมในอินเดียอีกด้วย การปราศรัยในครั้งนั้นถือเป็นวาทะสำคัญที่ผู้นำฮินดูกล่าวอย่างไม่คำนึงถึงความเป็นกลางระหว่างศาสนา ในที่สุดก็เริ่มมีกำหนดการให้สร้างวัดพระรามของชาวฮินดูอย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นชัยชนะของชาวฮินดูและการใช้ศาสนานิยมมาสร้างผลประโยชน์ทางการเมืองด้วย เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองอินเดียในปี ค.ศ. 1990 มีการแข่งขันกันทางอำนาจค่อนข้างสูง จึงมีความเป็นไปได้ว่า รามราช ยาตรา เป็นการทุ่มเท ของ นาย ลาล กฤษณะ อัดวานิ และพรรคภารติยะ ชนะตะ เพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนจากชาวฮินดูและเรียกคะแนนเสียงในทางการเมือง ซึ่งพรรคภารติยะ ชนตะได้ลงสนามเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1991 ผลปรากฎว่าพรรคได้คะแนนเสียงพุ่งสูงขึ้นในสภาถึง 120 ที่นั่งในสภา [4] เป็นรองเพียงพรรคคองเกรสอินเดียเท่านั้น
![](https://southasiainsight.com/wp-content/uploads/2019/10/22.png)
ผลกระทบและการตอบโต้
ประวัติศาสตร์บาดแผลของ รามรถยาตรา คงเป็นภาพแห่งชัยชนะของชาวฮินดู และเป็นความทุกข์ระทมของชาวมุสลิมหรือกลุ่มผู้ถูกกระทำ การแสวงบุญที่ใช้อุดมการณ์ฮินดูนิยมถูกรดราดด้วยความชังและอาบไปด้วยหยดเลือดจะจบลง แม้พรรคภารติยะ ชนตะจะจบสิ้นผลประโยชน์ทางการเมือง แต่กระแสของเหตุการณ์นี้กลับเป็นเชื้อไฟซึ่งส่งผลกระทบในการโหมกระแสฮินดูนิยมทั่วอินเดีย ชาวฮินดูแสดงอิทธิพลผ่านความรุนแรงด้วยแนวคิดว่าศาสนาของตนเป็นกลุ่มก้อนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
แต่ในอีกด้านหนึ่งความบาดหมางจากเหตุการณ์ดังกล่าวมันเป็นการข่มเหง และมีความเอนเอียงที่ชัดเจน โดยเฉพาะการสูญเสียของชาวมุสลิมกลับไม่ได้รับความยุติธรรม ยิ่งชาวมุสลิมในอินเดียแม้พวกเขาจะได้รับผลกระทบจากความรุนแรงซึ่งเป็นเป้าโดยตรงแต่ก็ยังยึดถือความสงบและความอดทนที่มีต่อหลักการทางศาสนา แต่ก็คงไม่มีสิ่งใดมายืนยันได้อย่างแน่นอนว่าชาวมุสลิมจะอดทนต่อการกดขี่และข่มเหงของชาวฮินดูผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ โดยไร้การตอบโต้ ไม่เช่นนั้นชาวฮินดูคงไม่พบกับเหตุการณ์ที่ถูกตอบโต้อย่างโหดร้ายในปี ค.ศ. 2002 คือเหตุการณ์เผาตู้รถไฟที่มีชาวฮินดูเดินทางไปแสวงบุญ ณ วัดพระราม ซึ่งกลุ่มที่ก่อเหตุ คือ ชาวมุสลิมที่ต้องการใช้ความรุนแรงตอบโต้เนื่องจากชาวฮินดูเคยเป็นฉนวนเหตุของความโกรธแค้นที่กลุ่มศาสนาตนถูกทำร้ายในกรณีสร้างวัดพระราม
สรุป
References
[1] ภูมิ พิทยา. 2016. จลาจลศาสนาครั้งร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ. Retrieved
March 8, 2019, https://www.matichonweekly.com/scoop/article_10982.
[2] จรัญ มะลูลีม. 2559. อินเดียศึกษา การเมืองการปกครองระหว่างประเทศ ศาสนา สังคมและวัฒนธรรม.
กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
[3] Bharatiya Janata Party?. Retrieved March 8, 2019, https://www.quora.com/How-crucial-was-Shri-LK-Advani-s-Rath-Yatra-for-the-initial-rise-of-the-Bharatiya-Janata-Party.
[4] Priya Sahgal. (2009). 1990-L.K. Advani’s rath yatra: Chariot of fire. Retrieved March 20, 2019,
https://www.indiatoday.in/magazine/cover-story/story/20091228-1990-l.k.-advanis-rath-yatra-
chariot-of-fire-741621-2009-12-24.
– Makarand Sahasrabuddhe. (2018). How crucial was Shri LK Advani’s Rath Yatra
for the initial rise of the
Photo credit :
– แผนที่เส้นทางรามรถยาตรา ของนายลาล กฤษณะ อัดวานิ
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Ram_Rath_Yatra#/media/File:Advani_Yatra_1990.svg
– ขบวนรถของนาย ลาล กฤษณะ อัดวานิ ที่ห้อมล้อมไปด้วยชาวฮินดู
ที่มา : https://www.quora.com/How-crucial-was-Shri-LK-Advani-s-Rath-Yatra-for-the-initial-rise-of-the-Bharatiya-Janata-Party