The Walls of Delhi

โดย นงค์ลักษณ์ บัทเลอร์

นักวิจัยผู้ช่วยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา 

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

The Walls of Delhi ผลงานเขียนของ Uday Prakash นักเขียนชาวฮินดีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย เรื่องชุดในหนังสือนำเสนอความหม่นหมอง เรื่องสั้นแต่ละเรื่องเล่าถึงวิบากชีวิต การดิ้นรนต่อสู้เอาตัวรอดในอินเดีย ความยากจนจึงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความโหดร้าย การถูกลงทัณฑ์ การกดทับ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ให้ภาพสะท้อนเศรษฐกิจภายในประเทศ อำนาจ ผู้ถือครองอำนาจ การตกเป็นเครื่องมือ ตัวละครในเรื่องต้องเผชิญกับชะตากรรมทั้งในชีวิตจริงและถูกสร้างขึ้นโดยนักเขียน พาผู้อ่านดิ่งลึกไปกับเรื่องราว

รวมเรื่องสั้นขนาดค่อนข้างยาวเรื่องนี้ มีตัวละคร เรื่อง สถานที่ เช่น เรื่องของคนกวาด ที่บังเอิญไปพบกำแพงในโรงยิมแห่งหนึ่ง และมีเงินสดจำนวนมากกองอยู่ การค้นพบครั้งนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตและมีผลตามมามากมาย อีกเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลประจำตัวในเหมืองถ่านหิน สะท้อนความสกปรกของย่านชานเมือง ตัวละครผู้หญิงคนหนึ่งถูกนักการเมืองท้องถิ่นฉ้อโกง เด็กคนหนึ่งต้องทนทุกข์กับความผิดปกติของร่างกาย เมื่อศีรษะของเขาโตเร็วกว่าร่างกาย

The Walls of Delhi ทำให้ผู้อ่านรู้สึกหนาวสั่นผ่านการร้อยเรื่องของนักเขียน ที่มีความสมจริง น่าสยดสยอง เสียดสี นักเขียนพาตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้อ่านในเสียงในเรื่องเล่า เชื่อมโยงข้อเท็จจริง ปัญหาของคนธรรมดาทั่วไป ว่าถูกกระทำ ถูกท้าทาย และตั้งคำถามต่อความยุติธรรม สะท้อนความทันสมัยของเมืองที่เป็นโลกคู่ขนานกับอีกหลายชีวิตในอินเดีย

งานเขียนชุดนี้เป็นการพาเรื่องเล่า อัตลักษณ์ ตัวตน ความเป็นท้องถิ่นนิยมของอินเดีย ข้ามพรมแดนไปพบกับโลกข้างนอก ผ่านการแปลที่คงอรรถรสของภาษาต้นทางไว้ให้ได้มากที่สุด

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การพัฒนาความเชี่ยวชาญเอเชียใต้ศึกษา South Asian Experts”

ที่ได้รับทุนสนับสนุนโครงการจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

เรียบเรียงจาก :

– https://shop.scroll.in/book/859722/the-walls-of-delhi

– https://www.thehindu.com/books/books-reviews/bridging-the-walls-of-language/article4772154.ece

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *