Islamic Republic of Afghanistan
Data & Information
GENERAL INFORMATION
ที่ตั้ง อาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (land lock)
เมืองหลวง กรุงคาบูล (Kabul)
ภูมิอากาศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา อากาศแห้ง แต่บริเวณหุบเขาบางส่วนในพื้นที่จะติดกับปากีสถาน มีความชื้นช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิ ในบางพื้นที่สูงถึง 35 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวอากาศเย็น บางแห่ง – 21 องศาเซลเซียส
ประชากร 38.64 ล้านคน
ภาษา ภาษาปัสโต (Pashtu) และอัฟกันเปอร์เซีย หรือภาษาดาริ (Dari) เป็นภาษาราชการ และมีภาษาท้องถิ่นของชนเผ่าต่างๆ ประมาณ 30 ภาษา
ศาสนา ศาสนาอิสลามร้อยละ 99.7% (นิกายซุนนี ร้อยละ 90 นิกายชีอะห์ ร้อยละ 10 ศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 0.3
เชื้อชาติ ปัชตุน (Pashtun) ร้อยละ 42 ทาจิก (Tajiks) ร้อยละ 27 ฮาซารา (Hazara) ร้อยละ 9 อุซเบก (Uzbek) ร้อยละ 9 เติร์กเมน (Turkmen) ร้อยละ 3 บาโลช (Baloch) ร้อยละ 2 อื่นๆ ร้อยละ 4
GENERAL INFORMATION
สกุลเงิน อัฟกานี (Afghani)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 อัฟกานี เท่ากับ 0.42 บาท
การขอวีซ่า ไม่มีสถานทูตอัฟกานิสถานในประเทศไทย การทำวีซ่าต้อง ไปทำที่ต่างประเทศเท่านั้น อาทิ กรุงบิชเคก ประเทศคีร์กีซสถาน กรุงดูชานเบ ประเทศทาจิกิสถาน และกรุงเตหะราน ประทศอิหร่าน
วันสำคัญ วันชาติ 19 สิงหาคม (วันที่ได้รับเอกราช)
ระบอบการเมือง ปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม (Islamic Republic)
มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ
ประธานาธิบดี โมฮัมหมัด อัชราฟ กานี (Mohammad Ashraf Ghani) 2019 – ปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรี อับดุลเลาะห์ อับดุลเลาะห์ (Abdullah Abdullah)
อุตสาหกรรมหลัก สิ่งทอ สบู่ เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า ปุ๋ย
สินค้านำเข้า เครื่องจักร สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
สินค้าส่งออก ฝิ่น ผลไม้ ขนสัตว์ ฝ้าย
นำเข้าสินค้าจาก ปากีสถาน สหรัฐ อินเดีย เยอรมนี รัสเซีย
ส่งออกสินค้าไป สหรัฐ อินเดีย ปากีสถาน ทาจิกิสถาน
GDP 2.7 (2019)
HISTORY
ที่ตั้งของสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถานเป็นจุดศูนย์กลางของเอเชีย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษ ดินแดนแห่งนี้คือแหล่งอารยธรรมของพุทธศาสนาเรื่อยมา จนถึงศตวรรษที่ 10 จากนั้นอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนแห่งนี้ คนท้องถิ่นจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม จนกระทั่งในช่วงศตวรรษที่ 13 ยุคของเจงกิสข่าน นำกองทัพที่แข็งแกร่งเข้ายึดครองดินแดนแถบนี้ ทำให้ความเข้มแข็งของชาวอัฟกานิสถานถดถอยลงไปมาก ทำให้อาณาจักรเปอร์เซียและอาณาจักรโมกุลเริ่มเข้ามามีบทบาทภายในประเทศแทน ในศตวรรษที่ 18 กลุ่มชาวปัชตุน (Pashtun) ภายใต้การนำของ อะห์หมัด ชาห์ อับดาลี (Ahmad Shah Abdali) เอาชนะอาณาจักรโมกุลและอาณาจักรเปอร์เซียได้จึงรวมอำนาจเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ แต่ยังคงไม่มีความมั่งคงและเสถียรภาพ
ช่วงศตวรรษที่ 19 อัฟกานิสถานกลายเป็นดินแดนสมรภูมิรบระหว่างอังกฤษและรัสเซีย (The Great Game) ในขณะที่อังกฤษพยายามควบคุมอำนาจทั้งหมดในอัฟกานิสถาน ความตึงเครียดนำไปสู่สงครามระหว่างอังกฤษ-อัฟกานิสถานระหว่างปีค.ศ. 1839-1842 (พ.ศ. 2382-2385) ซึ่งอังกฤษเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่อังกฤษยังคงไม่ละความพยายามในการครอบครองดินแดนแถบนั้น จนกระทั่งในค.ศ 1878-1880 (พ.ศ. 2421-2423) อังกฤษยึดครองดินแดนบางส่วนของอัฟกานิสถานได้ และทำให้สามารถควบคุมการต่างประเทศได้ทั้งหมด อังกฤษจึงพัฒนาศักยภาพทางทหารของอัฟกานิสถานด้วยอาวุธที่ทันสมัย โดยมีเป้าหมายในการปกป้องภัยคุกคามจากรัสเซีย หนึ่งในผู้ที่ได้รับการยกย่องคือ อับดุล เราะห์มาน คาน (Abdur Rahman Khan) ผู้ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น “ผู้นำที่แข็งแกร่ง” (Iron Amir)
อับดุลเราะห์มาน คาน เป็นผู้ประสบความสำเร็จหลายด้าน อาทิ การสร้างกองทัพแข็งแกร่ง เป็นผู้ริเริ่มการกำหนดเขตแดนประเทศร่วมกับบริติชราช ปัจจุบันส่วนหนึ่งของดินแดน คือ ปากีสถาน เมื่ออับดุลเราะห์มาน คาน เสียชีวิตลงในปีค.ศ 1901 (พ.ศ. 2444) นายฮาบีบุลเลาะห์ (Habibullah) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นกษัตริย์ในเวลาต่อมา กษัตริย์ฮาบีบุลเลาะห์นำการศึกษาสมัยใหม่เข้ามาในประเทศ ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 1 กษัตริย์ฮาบีบุลเลาะห์พยายามกดดันให้อังกฤษมอบเอกราชให้แก่อัฟกานิสถานแบบสมบูรณ์ แต่กษัตริย์ฮาบีบุลเลาะห์กลับถูกสังหารในปีค.ศ 1919 (พ.ศ. 2462)
จากนั้น กษัตริย์อมานุลเลาะห์ (Amanullah) ผู้เป็นพระโอรสของกษัตริย์ฮาบีบุลเลาะห์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ ในปีเดียวกันนั้นเองได้มีการประกาศเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์ แต่อังกฤษก็ยังคงประกาศสงครามกับอัฟกานิสถานระหว่างปีค.ศ 1919 -1921 (พ.ศ. 2462-2464) ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 แต่ก็พ่ายแพ้สงครามไป กษัตริย์ฮาบีบุลเลาะห์ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์นักปฏิวัติ ผู้กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และให้ความสำคัญกับการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาการปฏิรูปที่ดิน การจัดเก็บภาษี และร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศด้วย
ในยุคของสงครามเย็น อัฟกานิสถานกลายเป็นสมรภูมิสงครามระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียต ทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างเสนองบประมาณช่วยเหลืออัฟกานิสถานเพื่อกระชับความสัมพันธ์ แต่ด้วยเสถียรภาพทางการเมืองและการแข่งขันระหว่างกลุ่มคอมมิวนิสต์และพรรคประชาธิปไตย ส่งผลให้อัฟกานิสถานเข้าสู่สภาวะสงครามภายใน และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคอมมิวนิสต์และกลุ่มประชาธิปไตย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ได้รับการสนับสนุนจากขั้วมหาอำนาจ
โมฮัมหมัด ตารากี (Mohammed Taraki) ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต สามารถยึดอำนาจอัฟกานิสถานได้ในปีค.ศ 1978 (พ.ศ. 2521) ในขณะที่สหรัฐพยายามสนับสนุนฝ่ายตรงข้าม จนสถานการณ์ในอัฟกานิสถานเริ่มเลวร้ายมากขึ้น สหรัฐสนับสนุนงบประมาณ อาวุธที่ทันสมัยให้กับนักรบมุญาฮิดีนในปากีสถาน และส่งเข้าไปยังอัฟกานิสถานเพื่อต่อสู้กับสหภาพโซเวียต และลดบทบาทของสหภาพโซเวียต จนกระทั้งปีค.ศ 1989 (พ.ศ. 2532) กลุ่มมุญาฮิดีนสามารถยึดดินแดนได้อัฟกานิสถานได้เกือบทั้งหมด ปีค.ศ 1992 (พ.ศ. 2535) อัฟกานิสถานประกาศเป็นรัฐอิสลาม โดยให้กรุงคาบูลเป็นเมืองหลวงของประเทศ
จนกระทั่งพลตรี อับดุล ราชิด ดุสตั้ม (Abdul Rashid Dostum) และอะห์หมัด ชาร์ มันซูร (Ahmad Shah Massoud) กลุ่มสนับสนุนคอมมิวนิสต์ได้ทำการยึดกรุงคาบูลในเวลาต่อมา และต่อสู้กับกลุ่มฝ่ายตรงข้ามกับ กุลมุดดีน ฮักมายาฮ (Gulbuddin Hekmatyar) ร่วมกับกลุ่มพันธมิตร (กลุ่มประชาธิปไตย) ปลายปีค.ศ 1992 (พ.ศ. 2535) องค์กรสหประชาชาติได้รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากสงครามกว่า 1,800 คน และกว่า 500,000 คน ต้องหนีออกจากกรุงคาบูลไป
กลุ่มนักศึกษาด้านศาสนา (กลุ่มตอลิบัน) ในปากีสถาน เริ่มต่อต้านการควบคุมอำนาจของรัฐบาลทหารคอมมิวนิสต์ในอัฟกานิสถาน ในขณะที่รัฐบาลปากีสถานก็ร่วมสนับสนุนกลุ่มตอลิบัน เพื่อร่วมก่อตั้งรัฐอิสลามภายใต้กฎหมายชารีอะห์ (กฎหมายอิสลาม) แต่ตอลิบันกลับถูกขนานนามว่าเป็นกลุ่มเคร่งครัดอิสลามแบบรุนแรง และละเมิดสิทธิสตรี ระหว่างปีค.ศ 1994 – 2001 ชาวปากีสถานกว่า 100,000 คน ได้รับการฝึกฝนเพื่อต่อสู้ร่วมกับกลุ่มตอลิบัน โดยมีซาอุดิอาระเบียให้การสนับสนุนทางการเงิน
นายอุซามะฮ์ บิน ลาดิน ที่เคยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐในการรวบรวมกลุ่มมุญาฮิดีนต่อสู้กับสหภาพโซเวียตก็ได้กลับเข้ามาอาศัยอยู่ในอัฟกานิสถาน และกลายเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลต่อกองกำลังตอลิบัน กว่าร้อยละ 90 กลุ่มตอลิบันสามารถควบคุมพื้นในอัฟกานิสถานได้ แต่ความสัมพันธ์กับสหรัฐกลับแย่ลง เนื่องจากสหรัฐตรวจสอบและกล่าวหาว่า นายอุซามะฮ์ บิน ลาดิน เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการก่อการร้ายในเหตุระเบิดของสถานทูตสหรัฐในกรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า ในปีค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ตามมาด้วย เหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 นายอุซามะฮ์ บิน ลาดิน ถูกทางการสหรัฐหมายตัวว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อการร้าย เพียงไม่กี่สัปดาห์ถัดมา ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายได้เข้าโจมตีอัฟกานิสถาน จนกลุ่มตอลิบันและกลุ่มอัลกออิดะห์พ่ายแพ้
ปัจจุบันประเทศอัฟกานิสถานยังอยู่ในช่วงการฟื้นฟูประเทศทั้งในด้านการเมืองภายใน การเจรจาสันติภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างความร่วมมือกับนานาประเทศ โดยเฉพาะจีนและกลุ่มประเทศในเอเชียกลา
CULTURE
ประเทศอัฟกานิสถานมีกลุ่มชาติพันธุ์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มชนเผ่า และกลุ่มไม่ใช่ชนเผ่า แต่ละชนเผ่าก็มีชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ชนเผ่ากลุ่มหนึ่งที่มีมากที่สุดในอัฟกานิสถาน คือ ชนเผ่าปัชตุน (Pashtuns) ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ใช่ชนเผ่า คือ กลุ่มทาจิก (Tajiks) เป็นต้น
ประชากรส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถาน นับถือศาสนาอิสลามแบ่งออกเป็นมุสลิมสายซุนนี ร้อยละ 84 เป็น และถือธรรมเนียมปฏิบัติตามสายของอิหม่ามฮานาฟี อีกส่วนหนึ่งเป็นมุสลิมสายชีอะห์ ประมาณร้อยละ 15 หรือที่รู้จักว่าเป็นชาวฮาซารา (Hazaras) และมีผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ อาทิ ฮินดู ซิกข์ อีกร้อยละ 1
ชาวทาจิก (Tajiks)
กลุ่มชนเตอร์กิก (Turkic Groups)
ชาวปัชตุน (Pashtuns)
ชาวฮาซารา (Hazaras)
ชาวบาโลช (Baluch)
FOOD
อัฟกันโบรานี่ (Afghan Bolani)
โรตีไส้มันบด ฝักทอง ถั่วเขียวหรือถั่วแดง เป็นอาหารที่แสดงถึงการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากเจ้าบ้าน
โบรานี่ บานจัน (Borani Banjan)
ผัดผักและทำมาจากมะเขือยาว ผสมด้วยซอยมะเขือเทศ รับประทานคู่กับโยเกิร์ต และขนมปัง
โจปัน เคบับ (Chopan Kabob)
อาหารพื้นเมืองของชาวปัชตุน ทำจากเนื้อแกะย่างบนเตาถ่าน คล้ายกับบาร์บิคิวเนื้อ
กาบูลี่ ปาเลา (Kabuli pulao)
ข้าวกาบูลี่ปรุงรสด้วยเครื่องเทศและเนื้อ อาหารชนิดนี้เป็นสไตล์ เป็นอาหารที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของอัฟกานิสถาน
อุชญ์ (Aush)
ซุปก๋วยเตี๋ยวเนื้อข้น ตัวเส้นทำจากธัญพื้น ซุปปรุงรสด้วยเครื่องเทศ สมุนไพร และผัก เช่น ถั่ว กระเทียม มะเขือเทศ
POLITICS
ฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดี เป็นประมุข และผู้นำในการบริหารประเทศ
รองประธานาธิบดี โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี ดำรงตำแหน่ง ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 สมัย
ส่วนคณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี และความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร มีการกระจายอำนาจการปกครองแบ่งออกเป็น 34 จังหวัด
ฝ่ายนิติบัญญติ
ฝ่ายตุลาการ
ECONOMY
ปีพ.ศ. 2561 เศรษฐกิจของอัฟกานิสถานเติบโตร้อยละ 1.8 ถือเป็นการเติบโตอย่างช้าๆ อันเนื่องมาจากสภาวะสถานการณ์ความมั่นคงภายและเสถียรภาพของการเมืองภายในประเทศ ทำให้กลุ่มผู้ลงทุนจากต่างประเทศไม่กล้าตัดสินใจเข้ามาลงทุน หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดในปีพ.ศ. 2562
นายอัชราฟ ฆานี (Ashraf Ghani) ได้รับชัยชนะและได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน ได้เริ่มนโยบายเกี่ยวกับการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มตอลิบัน ทำให้แนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศเริ่มกลับมาดีขึ้น ตลอดจนการกำหนดนโยบายการคลังเพื่อบริหารการเงิน การลงทุน การสร้างงาน และการต่อต้านการคอรัปชั่น แม้ว่ารัฐบาลจะกระตุ้นผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ แต่ก็เติบโตได้แค่เพียงร้อยละ 0.8 เท่านั้น เนื่องจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ และความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนเอกชน ทำให้สถิติของกลุ่มผู้ยากจนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 80 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแถบชนบท ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของอัฟกานิสถานอาจจะชะลอตัว และขึ้นอยู่กับการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับตอลิบัน โดยรัฐบาลมีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจของประเทศในปีพ.ศ. 2564 จะฟื้นฟูร้อยละ 3.5 หากการเมืองและมีเสถียรภาพและความมั่นคง
รายได้หลักของประเทศ
รายได้หลักของประเทศจะขึ้นอยู่กับผลผลผลิตจากการเกษตรกรรม ประเทศอัฟกานิสถานมีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในประเทศ และสามารถผลิตเพื่อการส่งออกได้ สินค้าทางการเกษตรที่ส่งออก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ผักผลไม้ และถั่ว ส่วนอุตสาหกรรมจะเน้นอุตสาหกรรมทางการเกษตร และการส่งออกวัตถุดิบ พืชอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ ฝ้าย ยาสูบ เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ผ้าขนสัตว์จากแกะเป็นสินค้าหลักในการส่งออกด้วย นอกจากนี้อัฟกานิสถานยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์โดยเฉพาะแกสธรรมชาติและน้ำมัน ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ยังคงไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิ์ภาพ
การท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอัฟกานิสถาน รัฐบาลให้การสนับสนุนการลงทุนของกลุ่มภาคเอกชน เพื่อการลงทุนด้านการท่องเที่ยวให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานที่ท่องเที่ยวในอัฟกานิสถานยังคงเป็นศาสนสถาน และโบราณสถานที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาของศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม อาทิ Buddha Niches ที่แสดงถึงความอลังการของพระพุทธรูป สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 6 และ Friday Mosque ซึ่งเป็นมัสยิดที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างอัฟกานิสถานกับเอเชียกลาง
DIPLOMATIC RELATIONS BETWEEN THAILAND
ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอัฟกานิสถานเคยหยุดชะงักลง ในช่วงที่สหภาพโซเวียตยึดครองอัฟกานิสถานเมื่อปีค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) ในระยะแรกภายหลังการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูต ไทยและอัฟกานิสถานดำเนินความสัมพันธ์ผ่านเวทีการเมืองระหว่างประเทศเป็นหลัก ไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ ด้านการพัฒนาและการเกษตร
หลังจากอัฟกานิสถานพ้นจากภาวะสงครามเมื่อปีพ.ศ. 2554 ไทยให้ความช่วยเหลือระยะต้นโดยเน้นการบรรเทาทุกข์ตามสภาพปัญหาเฉพาะหน้าในขณะนั้น อาทิ การมอบข้าวสาร การมอบเงินช่วยเหลือ และยังคงต้องดำเนินความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจในรูปแบบความช่วยเหลือ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจของอัฟกานิสถาน และเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ระบบเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวของอัฟกานิสถาน ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป
จนกระทั้งในปีพ.ศ. 2547 ไทยได้เชิญรัฐมนตรีด้านการฟื้นฟูบูรณะของอัฟกานิสถานเข้าร่วมประชุม “ทางเลือกเพื่อการพัฒนา : เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นโอกาสให้ไทยได้เสนอแนวทางการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่ออัฟกานิสถาน อีกทั้งเป็นการสร้างความคุ้นเคยระหว่างบุคคลในรัฐบาลของทั้งสองฝ่าย อันเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ทางการเมืองในชั้นต้น และจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำระดับสูงได้ต่อไป
References
– http://www.mfa.go.th/sameaf/th/other/8513/92139/สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน.html
– https://newint.org/features/2008/11/01/afghanistan-history
– https://www.adb.org/news/afghanistans-economic-growth-improves-slightly-2019-amid-challenges
– https://www.afghan-web.com/economy/
– https://www.afghan-web.com/geography
– https://www.iexplore.com/articles/travel-guides/middle-east/afghanistan/festivals-and-events
– https://www.indexmundi.com/afghanistan/religions.html
– https://www.tasteatlas.com/most-popular-food-in-afghanistan
– https://www.worldbank.org/en/country/afghanistan/overview
Photo credit :
– Photo by The Raven on Unsplash
– AFGHANI BOLANI – POTATO, GREEN ONION, AND CILANTRO STUFFED FLATBREAD
http://foodtasia.com/afghani-bolani-potato-green-onion-stuffed-flatbread/
– Borani Banjan – Afghan Eggplant With Yogurt Sauce
https://www.cookwithmanali.com/borani-banjan-afghan-eggplant-yogurt-sauce/
– KABULI PALAU https://www.rhubarbarians.com/kabuli-palau/
– The Kite Runner Chopan Kabob Recipe https://www.hungryforever.com/recipe/the-kite-runner-
chopan-kabob-recipe/
– Aush Vegetable Soup https://www.washingtonpost.com/recipes/aush-vegetable-soup/14366/
– Hazaras https://www.wikiwand.com/en/Hazaras
– Pashtuns https://www.wikiwand.com/en/Pashtuns
– Local Wakhi people. They are related to Tajiks of China on the other side of the border. By Jakub Rybiki,
Carl Zha @CarlZha 2018. Aug. 29. https://twitter.com/carlzha/status/1034838225875918849?lang=hu
– Baluch tribes Pakistan https://www.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g295413-d19468205-
i449862240-Indus_Holidays-Lahore_Punjab_Province.html
– Turkmens https://en.wikipedia.org/wiki/Turkmens