Republic of India
Data & Information
GENERAL INFORMATION
ที่ตั้ง อาณาเขตทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทิศเหนือติดเนปาล จีนและภูฏาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดเมียนม่า ทิศตะวันออกติดบังกลาเทศ ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และอยู่ใกล้กับประเทศศรีลังกา โดยอยู่ห่างจากฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียประมาณ 65 กิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงนิวเดลี (New Delhi)
ภูมิอากาศ มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ตอนเหนืออยู่ใกล้เทือกเขาหิมาลัยมีอากาศหนาว บริเวณเทือกเขาในฤดูหนาวมีอุณภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ทางตอนใต้มีอากาศร้อนชื้น ช่วงฤดูมรสุมมีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ยในที่ราบช่วงฤดูร้อน ประมาณ 38-48 องศาเซลเซียส และฤดูหนาว ประมาณ 4-10 องศาเซลเซียส
ประชากร 1.3 พนล้านคน
ภาษา ภาษาอังกฤษ (English) เป็นภาษาราชการ แต่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาฮินดู รวมทั้งภาษาเบงกาลี (Bengali) มาราติ (Marathi) เตลูกู (Telugu) ทมิฬ (Tamil) ปัญจาบี (Punjabi) อูรดู (Urdu) เป็นต้น และมีภาษาท้องถิ่นหลายร้อยภาษา
ศาสนา ฮินดู ร้อยละ 79.8 มุสลิม ร้อยละ 14.2 คริสต์ ร้อยละ 2.3 ซิกซ์ ร้อยละ 1.7 อื่นๆ ร้อยละ2.5
เชื้อชาติ อินโด-อารยัน ร้อยละ 72 ดราวิเดียน ร้อยละ 25 มองโกลอยด์และอื่นๆ ร้อยละ 3
GENERAL INFORMATION
สกุลเงิน รูปี (Rupee)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 รูปีอินเดีย เท่ากับ 0.43 บาท
การขอวีซ่า สามารถขอได้ที่ สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ศูนย์รับคำร้องวีซ่าและหนังสือเดินทางอินเดีย เว็บไซด์ www.vfsglobal.com/india/thailand โทรศัพท์ 022583063-64
วันสำคัญ วันชาติ 26 มกราคม วันประกาศเอกราช 15 สิงหาคม
ระบอบการเมือง สาธารณรัฐปกครองในระบอบประชาธิปไตย (federal parliamentary republic) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประธานาธิบดี ราม นาถ โกวินท์ (Ram Nath Kovind) 2017-ปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรี นเรนทรา ทาโมทรทาส โมดิ (Narendra Damodardas Modi) 2014-ปัจจุบัน
อุตสาหกรรมหลัก สิ่งทอ, สารเคมี, การแปรรูปอาหาร, เหล็ก, อุปกรณ์การขนส่ง, ซีเมนต์, การทำเหมือง, ปิโตรเลียม, เครื่องจักร, ซอฟต์แวร์, เวชภัณฑ์,บริการด้านไอที
สินค้านำเข้า น้ำมันดิบ, อัญมณี, เครื่องจักร, เคมีภัณฑ์, ปุ๋ย, พลาสติก, เหล็กกล้า,พลาสติก
สินค้าส่งออก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม, อัญมณี, ยานพาหนะ, เครื่องจักร, เหล็กและเหล็กกล้า, เคมีภัณฑ์, เวชภัณฑ์, ธัญพืช, เครื่องแต่งกาย
นำเข้าสินค้าจาก จีน สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย สวิตเซอร์แลนด์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ อิรัก
ส่งออกสินค้าไป สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี บังกลาเทศ
GDP 6.8 (2018)
HISTORY
อารายธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเฟื่องฟูเมี่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล บริเวณหุบเขาอินดัส ในส่วนตะวันตกของเอเชียใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในอารายธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ มีการค้นพบซากของเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารายธรรม คือเมือง โมเฮนโจ-ดาโร (Mohenjo-daro) และ เมืองฮารัปปา (Harappa) ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองมีการวางผังที่ดี มีถนนกว้างขวาง มีระบบระบายน้ำที่พัฒนา มีการค้าการที่รุ่งเรือง และผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดี ราวปี 1,500 ปีก่อนคริสตกาลยุคสมัยของฮารัปปา (Harappa) ก็สิ้นสุดลง
ต่อมาราว 1,500-800 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอินโด-ยูโรเปียน หรือชาวอารยันจากเอเชียกลางได้อพยพเข้ามา และนำอารายธรรมพระเวท (Vedas) เข้ามาด้วย ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวเฟื่องฟูตามแถบแม่น้ำสรัสวดี มรดกหลงเหลือที่สำคัญที่สุดของอารายธรรมนี้ คือ คำภีร์พระเวท เป็นวรรณกรรมทางศาสนาที่เขียนในภาษาสันสกฤต และเป็นรากฐานของศาสนาฮินดู และระบบกฎหมาย การปกครอง ธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดียในเวลาต่อมา ดั้งเดิมชาวอารยันอยู่กันเป็นเผ่า เลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล มีการพัฒนามาตั้งรกรากและเกิดระบบเมืองและการค้าขาย หลายเผ่าจึงรวมกันเกิดเป็นอาณาจักรและเริ่มมีระบบวรรณะขึ้นมาเป็นโครงสร้างสังคม
ราวศตวรรษที่ 8 อารยธรรมอิสลามเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาในอินเดีย โดยพ่อค้ามุสลิมจากตะวันออกกลาง ราวศตวรรษที่ 12 มีกองทัพจากจักรวรรดิอาหรับบุกเข้ามาโจมตีแควนชินด์ พื้นที่ทางตอนเหนือของอินเดียถูกยึดครองโดยอารยธรรมอิสลาม กระทั่งในช่วงคริสต์ศศวรรษที่ 16-18 เกิดจักรวรรดิโมกุลซึ่งเป็นจักรวรรดิอิสลามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา จักรวรรดิโมกุลปกครองประชากรหลายร้อยล้านคน อินเดียรวมเป็นหนึ่งเดียวหลังจากแบ่งการปกครองเป็นอาณาจักรต่างๆ ทั้งมุสลิมและฮินดู และอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน มีวัฒนธรรมและการเมืองที่รุ่งเรืองมั่นคง มีการแผ่ขยายด้านการปกครอง ภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรมและศาสนาอิสลาม
จักรวรรดิโมกุลในศตวรรษที่ 17 ยังคงมีการขยายและพิชิตดินแดนอย่างต่อเนื่อง มีความพยายามรวมศูนย์การปกครองและควบคุมระบบและโครงสร้างสังคมในแคว้นต่างๆ มีการสร้างมาตรฐานสำหรับการปฏิบัติการค้าการปกครอง ระบบจัดเก็บภาษี ซึ่งต้องการบุคคลากรและทรัพยากรที่ควบคุมจากส่วนกลางจำนวนมาก จึงเกิดความตึงเครียดในพื้นที่ต่างๆ และเริ่มเกิดการต่อต้านขึ้นเป็นระยะ จักรพรรดิโมกุลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดถูกจารึกไว้ 3 คน ได้แก่ พระเจ้า Jahanglr (ค.ศ.1605-1627 / พ.ศ.2148-2170 ) พระเจ้า Shah Jahan (ค.ศ.1628-1658 / พ.ศ. 2171-2201) และ พระเจ้า Aurangzeb (ค.ศ.1658-1707/ พ.ศ. 2201-2250) ในยุคสมัยของพระเจ้า Jahanglr และ พระเจ้า Shah Jahan สร้างเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสร้างความรุ่งเรืองทางศิลปะ จิตรกรรมและสถาปัตยกรรมอันงดงาม
ในยุคสมัยของ พระเจ้า Aurangzeb สามารถขยายอิทธิพลของอาณาจักรได้กว้างใหญ่ไปถึงพม่า แต่มีการใช้หลักการการปกครองและการปฏิบัติแบบอิสลามแก่กลุ่มคนที่ไม่ใช่อิสลามด้วย เช่น การห้ามสร้างวัดใหม่และซ่อมแซมวัดเก่า เพิ่มภาษีแก่ชาวฮินดูและปรับลดให้แก่ชาวมุสลิม เป็นต้น จึงเกิดการต่อต้านอำนาจจักรวรรดิ เมื่อสิ้นอำนาจพระเจ้า Aurangzeb จักรวรรดิโมกุลก็ค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง เปิดโอกาสให้อังกฤษที่ได้เข้ามามีอิทธิพลในอินเดียตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เข้ามามีอำนาจในอินเดีย
อินเดียถูกยึดครองและปกครองโดยอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ ในปี ค.ศ. 1876 (พ.ศ.2419) โดยมีสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษดำรงตำแหน่งสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดินีแห่งอินเดีย ในช่วงปี ค.ศ. 1885–1920 (พ.ศ. 2428-2463) เกิดลัทธิชาตินิยมอินเดียขึ้นมาเพื่อต่อต้านอังกฤษ เกิดปฏิบัติการต่อต้านจากเหล่าปัญญาชนอินเดีย และ ภายใต้การนำของมหาตมะ คานธี และยาวาหะราล เนรูห์ (Jawaharlal Nehru) ด้วยการการรณรงค์เรียกร้องเอกราชโดยสันติวิธี จนประสบความสำเร็จและอินเดียได้รับเอกราชและร่วมเป็นสมาชิกเครือจักรภพเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1947 (พ.ศ. 2490) ต่อมาได้มีการสถาปนาสาธารณรัฐอินเดียในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ.1950 (พ.ศ.2493) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ โดย ยาวาหะราล เนรูห์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย
CULTURE
Fastival
เทศกาลดิวาลี (Diwali)
เทศกาลดุชเซห์รา (Dussehra)
เทศกาลโฮลี (Holi)
เทศกาลโฮลี (Holi) เรียกอีกอย่างว่าเทศกาลแห่งสีสัน ผู้คนจะออกมาเต้นรำและปาผงสีในตอนกลางวันและในตอนเย็นจะมีการทำกองไฟ Holika ความหมายของเทศกาลนี้มาจากตำนานที่เล่าถึงชัยชนะของความบริสุทธิ์และการอุทิศตนของเจ้าชายปราลัด (Prahlad) เหนือความชั่วร้ายและรอดจากการบูชาไฟ นอกจากนี้เทศกาล Holi ยังเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ
เทศกาลวสันต์ปัญจมี (Vasant Panchami)
FOOD
บิรยานี (Biryani)
ส่วนผสมหลักคือข้าว เครื่องเทศ สมุนไพร เนื้อสัตว์ ผักและส่วนผสมอื่นๆ ส่วนผสมจึงแตกต่างกันไปตามสูตรของแต่ละพื้นที่
โรตี (Roti)
เป็นขนมปังแบนไร้เชื้อทำจากแป้งโฮลวีล ปรุงแบบดั้งเดิมบนแผ่นเหล็กที่เรียกว่า Tava แป้งโรตีนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น chapatti, makki di roti, tandoori roti และ roti canai นิยมทางคู่กับอาหารจานต่างๆ เช่น แกงและอาหารชนิดอื่น
ซาโมซา (Samosa)
เกี๊ยวทอดสอดไส้ได้หลายอย่าง เช่น ผัก มันฝรั่ง เนื้อสัตว์หรือถั่ว มักเสิร์ฟพร้อมซอสต่างๆ เช่น ซอสมินต์, ซอสมะขาม และซอสเผ็ด
มัตเตอร์ ปะนีร์ (Matar Paneer)
เป็นแกงถั่วอินเดีย มีถั่วและชีสสดเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังมีการใส่มะเขือเทศและเนื้อสัตว์เช่นไก่ลงไปด้วย ปรุงรสด้วยเครื่องเทศ มักเสริฟ์พร้อม แป้งนาน (Naan) หรือข้าว
ไก่ทันดูรี (Tandoori Chicken)
เป็นไก่หมักในโยเกิร์ตปรุงรสด้วย เครื่องเทศสีแดง Tandoori masala ปรุงด้วยเตาดินเผา
ในอุณหภูมิสูง
โรกันจอช (Rogan Josh)
แกงจากอินเดียตอนเหนือและเป็นที่นิยมในหมู่ชาวมุสลิมอินเดีย ใช้เนื้อแพะหรือแกะ ปรุงรสด้วยสมนุไพร เครื่องเทศ และพริกแดง
พรรคการเมือง
การเมืองอินเดียเป็นระบบหลายพรรค ปัจจุบันคณะรัฐบาลที่บริหารประเทศอินเดีย คือ กลุ่ม National Democratic Alliance-NDA ซึ่งมีพรรคภารติยะ ชนตะ (BJP) เป็นแกนนำ ภายหลังได้รับเลือกตั้ง ส.ส. มากเป็นอันดับ 1 จำนวน 282 ที่นั่ง
พรรคการเมืองสำคัญได้แก่ พรรคคองเกรส แกนนำพรรคฝ่ายค้าน พรรคชนตะดาลพรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย
POLITICS
ฝ่ายบริหาร
คณะผู้บริหารประกอบด้วยประธานาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขของรัฐและเป็นหัวหน้าคณะบริหาร รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล โดยประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมจากผู้แทนทั้ง2 สภา รวมสภานิติบัญญัติของแต่ละรัฐ ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดำรงต่ำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ
ส่วนนายกรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากประธานาธิบดี มีวาระ 5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจในการบริหารอย่างแท้จริง และยังเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) อันประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการ (Cabinet Ministers) รัฐมนตรีที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (Ministers od stare-Independent Charge) และรัฐมนตรีช่วยว่าการ (Ministers of State)
ฝ่ายนิติบัญญติ
ฝ่ายตุลาการ
การปกครองระดับรัฐ
รัฐบาลท้องถิ่น (State Government) มีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย จัดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของรัฐ โดยโครงสร้างฝ่ายบริหารของรัฐท้องถิ่น ประกอบด้วยผู้ว่าการรัฐ (Governor) มุขมนตรี (Chief Minister) และคณะรัฐมนตรีประจำรัฐ (State Minister) โดยผู้ว่าการรัฐ (Governor) ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากประธานาธิบดี และมีอำนาจในการแต่งตั้งถอดถอนมุขมนตรีและคณะรัฐมนตรีประจำรัฐ แต่งตั้งอัยการประจำรัฐ เรียกประชุมและยุบสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ มีอำนาจลดโทษและอภัยโทษ
รัฐบาลท้องถิ่นจะมาจากพรรคการเมืองที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งภายในรัฐ หรือได้รับการแต่งตั้งจากสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ประกอบด้วย Legislative Council ทำหน้าที่คล้ายราชสภา และ Legislative Assembly ทำหน้าที่คล้ายโลกสภา โดยบางรัฐมีเพียง Legislative Assembly อย่างเดียว
ECONOMY
อินเดียถือเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 7 ของโลกเมื่อวัดด้วยค่า GDP และเป็นอันดับ 3 ของโลก แต่เมื่อเทียบด้วยความเท่าเทียม ประชากรอินเดีย ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ความยากจนยังเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญ ทั้งนี้หลังจากมีการปฏิรูปเศรษฐกิจแล้วเปิดเสรีทางเศรษฐกิจมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2534 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างก้าวกระโดด โดยมีนโยบาย Autarkic เพื่อแข่งขันกับนานาชาติ รัฐท้องถิ่นเริ่มเปิดเสรีเกี่ยวกับข้อบังคับทางธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบทางอุตสาหกรรม ลดการควบคุมทางการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ และมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐ มาตรการเหล่านี้ช่วยให้อินเดียเร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทำให้อินเดียเป็นประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่ที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติและบุคคลจำนวนมหาศาล และเร่งการเติบโตของประเทศเฉลี่ยเกือบร้อยละ 7 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2560 ในระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558 มีประชากรกว่า 90 ล้านคนที่พ้นจากเส้นความยากจน โดยอินเดียสามารถลดระดับความยากจนจากร้อยละ 46 เหลือ ร้อยละ 13.4 ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมอินเดียมีตั้งแต่ระดับชุมชนหรือ SMEs ที่เน้นงานฝีมือไปจนถึงอุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตยานยนตร์ เครื่องจักร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเหล็ก เคมีภัณฑ์ และปิโตรเลียม นอกจากนี้อินเดียยังมีชื่อเสียงในด้านภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี บริการด้านโทรคมนาคม โดยเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการโทรศัพท์ (call-center) ของหลากหลายบริษัทจากสหรัฐอเมริกา ภาคบริการเติบโตคิดเป็นร้อยละ 60 และมีการจ้างงานเพิ่มร้อยละ 28
อย่างไรก็ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียเริ่มชะลอตัวลงในปี พ.ศ. 2554 เหลือร้อยละ 6.8 จากการลงทุนที่ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมไปทั้งการประสบปัญหาหนี้เสีย ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจมหภาคทำให้ค่าเงินรูปีอินเดียอ่อนค่าลง ในปี พ.ศ. 2559 แต่ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 เศรษฐกิจอินเดียได้กลับมาขยายตัวถึง ร้อยละ 8.2
รายได้หลักของประเทศ
ภาคบริการและอุตสาหกรรม IT เป็นภาคเศรษฐกิจใหญ่ของประเทศ โดบในภาคบริการคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 2 ใน 3 ของผลผลิตในประเทศ เนื่องจากอินเดียได้ประโยชน์จากประชากรที่มีทักษะภาษาอังกฤษ ทำให้มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีและมีการศึกษาดี เป็นจำนวนมาก แต่มีค่าแรงถูก จึงทำให้อินเดียกลายเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของบริการด้านเทคโนโลนยีสารสนเทศ ธุรกิจบริการ IT Outsource หรือ บริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ให้บริการด้านซอฟแวร์
อัตราส่วนของภาคบริการและอุตสาหกรรม IT ในอินเดียเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในปีพ.ศ.2549 เป็นร้อยละ 7 ในปีพ.ศ. 2551 ในปีพ.ศ. 2552 บริษัทในอินเดีย 7 แห่งถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 บริษัท IT Outsource ชั้นนำของโลก และมีการคาดการณ์ว่ารายได้จากธุรกิจนี้จะมากถึง 2.25 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีพ.ศ. 2563
การท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดย Travel and Tourism Competitive index (TTCI) ของ World Economic Forum ได้จัดให้อินเดียอยู่ในอับดับที่ 40 ในปีพ.ศ. 2560 และขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 34 ใรปีพ.ศ. 2562
สัดส่วนการท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มการลงทุนและช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม ร้านอาหาร โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการดูแลสุขภาพ ในช่วงปีพ.ศ. 2556 ถึงพ.ศ. 2566 อัตราการเติบโตของการลงทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ต่อปี คาดการณ์ว่าภายในปีพ.ศ. 2572 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะสร้างงานได้เกือบ 53 ล้านตำแหน่ง จากเดิมในปีพ.ศ. 2561 มี 43 ล้านตำแหน่ง และในปี พ.ศ.2573 อาจมีการลงทุนจากต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้พัฒนาโรงแรม รีสอร์ทและสถานที่พักผ่อนอย่างเต็มรูปแบบ
โดยทางรัฐบาลอินเดียเองได้ออกนโยบายที่เอื้อต่อการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวหลายประการ เช่น กระตุ้นอุตสาหกรรมการบินในประเทศ โดยเปิดสายการบินขนาดเล็กเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและพัฒนาท่าเทียบเรือสำราญตามเมืองท่องเที่ยว เป็นต้น
ทั้งนี้ อินเดียเป็นประเทศใหญ่ที่มีภูมิประเทศและวัฒนธรรมที่หลากหลาย จึงทำให้มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายและมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพหลายด้าน เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวทางเรือสำราญ การท่องเที่ยวเชิงศาสนา การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม เป็นต้น
DIPLOMATIC RELATIONS BETWEEN THAILAND
ไทยและอินเดียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2490 (ค.ศ. 1947) และยกสถานะขึ้นเป็นระดับสถานเอกอัครราชทูตเมื่อปี 2494 (ค.ศ.1951) ได้มีการฉลองครบรอบ 70 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปีพ.ศ. 2560 ปัจจุบันมีสถานเอกอัครราชทูตไทยตั้งอยู่ที่กรุงนิวเดลี โดยมีนายชุตินทร คงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี และมีสถานกงสุลใหญ่อีก 3 แห่งคือ กงสุลใหญ่ เมืองกัลกัตตา (Kolkata) สถานกงสุลใหญ่ เมืองมุมไบ (Mumbai) และสถานกงสุลใหญ เมืองเชนไน (Chennai) ส่วนอินเดียมีสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงเทพฯ โดยมีนางสุจิตรา ดูไร (Suchitra Durai) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย และมีสถานกงศุลใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสงขลา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและอินเดียมีรากฐานทางสังคมวัฒนธรรมเก่าแก่ยาวนาน มีการติดต่อกันตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่เผยแผ่พระพุทธศาสนามายังสยามเมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว และในด้านเศรษฐกิจและการค้าพบหลักฐานว่า มีการทำการค้าระหว่างสยามกับบริษัท East India Company ในสมัยที่สหราชอาณาจักรปกครองอินเดีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการอพยพไปไทยของบรรพบุรุษคนไทยเชื้อสายอินเดียหลายครอบครัว
การค้าและการลงทุนระหว่างไทยและอินเดียในปัจจุบันมีมากขึ้นตามลำดับ มีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสริ (FTA) ไทย-อินเดียเมื่อปีพ.ศ. 2546 มีการลดภาษีในกรอบ Early Harvest Scheme สำหรับสินค้า 83 รายการ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 และภาษีลดลงเหลือร้อยละ 0 รวมถึงการตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ทั้งนี้ต่างฝ่ายก็มีนโยบายที่เอื้อต่อกัน เช่น ไทยมีนโยบาย Look West ในปี 1996 และอินเดียมีนโยบาย Look East ในปี 1993 ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่ ACT EAST ของอินเดียและ Act West ของไทย เป็นการสนับสนุนความสัมพันธ์แบบทวิภาคีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อินเดีย สภาธุรกิจร่วมได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 โดยเป็นการร่วมมือของภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางการค้าและอำนวยความสะดวกในการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจแก่กัน ทั้งนี้ ไทยได้เปรียบดุลการค้ามาตลอด โดยการค้าทวิภาคีเมื่อปีพ.ศ. 2560 มีมูลค่า 10,372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทย 6,477 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.65 และไทยนำเข้าจากอินเดีย 3,895 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 51.40 ไทยได้ดุลการค้า จำนวน 2,582 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อินเดียจึงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 11 และเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 14 ของไทย
ด้านการลงทุน มีบริษัทอินเดียเข้ามาลงทุนในไทยเป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มบริษัททาทา ซึ่งลงทุนในธุรกิจยานยนต์ (Tata Motors) ธุรกิจเหล็ก (Tata Steel) ธุรกิจไอที (Tata Consultancy Services) และยังมีบริษัทขนาดใหญ่อีก จำนวนหนึ่ง เช่น Indorama, Aditya Birla, NIIT, Kirloskars Brothers และ Punj Loyd เป็นต้น นอกจากอุตสาหกรรมนี้ในด้านสื่อบันเทิงอินเดียก็เป็นที่นิยมในไทยมากขึ้นเช่นกัน
สำหรับภาคธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในอินเดียยังยังมีจำนวนไม่มากนัก เพราะตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จากไทยมีเพียงร้อยละ 0.1 จากตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดในอินเดีย ทั้งนี้ธุรกิจไทยที่เข้าไปตีตลาดในอินเดียสำเร็จก็มีจำนวนไม่น้อย ส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติที่ดีต่อสินค้าไทยที่คนอินเดียมองว่ามีคุณภาพดีและราคาไม่สูงเกินไป โดยภาคการลงทุนของไทยที่ส่วนใหญ่อยู่ในโครงสร้างพื้นฐาน อสังหาริมทรัพย์ การแปรรูปอาหารเคมีภัณฑ์และโรงแรม บริษัทขนาดใหญ่ของไทยที่เข้าไปลงทุนก็ได้แก่ ซีพี อิตาเลียนไทย ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ เดลต้าอิเล็กทรอนิกส์ บ้านพฤกษาและไทยออโต้ซัมมิท
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอินเดียมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศจำนวนมาก และได้โอกาสให้ต่างชาติสามารถลงทุนได้โดยตรงร้อยละ 100 ในหลายสาขา โดยหากไทยสามารถคว้าโอกาสจากนโยบาย India Smart City และเข้าไปลงทุนในส่วนการพัฒนาคมนาคม การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจให้มากขึ้นกว่าขึ้นจะเป็นการลงทุนที่เกิดประโยชน์แก่ทั้ง 2 ฝ่ายเป็นอันมาก
ด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวอินเดียเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางมาเพื่อจัดงานฉลองการมงคลสมรส ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวอินเดียจำนวนกว่า 1 ล้านคนเดินทางมาประเทศไทย
References
– สำนักข่างกรองแห่งชาติ (2562), ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ 2562
– https://www.worldbank.org/en/country/india/overview
– http://newdelhi.thaiembassy.org/th/useful-knowledge-
– https://www.bbc.com/news/world-south-asia-12557384
– https://embassyofindiabangkok.gov.in/
– https://www.britannica.com/place/India/
– https://www.indexmundi.com/india/
– https://www.tasteatlas.com/india?orderby=popularity
– https://www.thetravel.com/10-best-indian-foods/
– https://www.thetravel.com/20-unique-festivals-in-india-we-should-experience-at-least-once/
– https://knowindia.gov.in/culture-and-heritage/lifestyle-values-and-beliefs.php
– https://www.investindia.gov.in/sector/tourism-hospitality
– https://worldpopulationreview.com/countries/countries-by-gdp/
– https://www.pcworld.com/article/163513/India_outsourcing_revenue.html
– https//www.forbes.com/2008/02/29/mitra-india-outsourcing-tech-enter-
cx_sm_0229outsource.html#4a4b9cfa7008
– https://www.salika.co/2019/03/20/thailand-india-economic-development-together/
– https://www.worldatlas.com/articles/biggest-ethnic-groups-in-india.html
Photo credit :
– Women to celebrate Holi Photo by Tom Watkins on Unsplash
– Diwali image Photo by Hari Shankar on Unsplash
– selective focus photography of yellow auto rickshaw on road Photo by Karthik Chandran on Unsplash
– Vasant Panchami https://www.inuth.com/lifestyle/interesting-facts-and-importance-of-wearing-
yellow-about-basant-panchami-2017-in-india/
– Mysore Dasara [Dussehra Celebrations In India] http://www.travelsiteindia.com/blog/10-places-
to-experience-dussehra-celebrations-in-india/
– Tandoori Chicken Image by GOLDINPIC from Pixabay
– Biryani Photo by Omkar Jadhav on Unsplash
– Samosa Image by GOLDINPIC from Pixabay
– Indian curry Image by GOLDINPIC from Pixabay , Image by ArtificialOG from Pixabay
– Thali Cuisine Image by LoggaWiggler from Pixabay
– Amber Palace, Jaipur, India Photo by Annie Spratt on Unsplash
– Chandi chowk, Delhi, India Photo by Aquib Akhter on Unsplash