Federal Democratic Republic of Nepal
Data & Information

GENERAL INFORMATION
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเทือกเขาหิมาลัย มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับทิเบตและจีน ส่วนทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ติดกับอินเดีย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (land lock)
เมืองหลวง กรุงกาฐมาณฑุ (Kathmandu)
ภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศมีความหลากหลาย แตกต่างกันไปตามระดับความสูงของที่ตั้ง มีทั้งอากาศร้อนจัด หนาวเย็น แห้งแล้งและลมมรสุมหน้าในช่วงหน้าฝน
ประชากร 28.09 ล้านคน
ภาษา ภาษาเนปาลีเป็นภาษาประจำชาติ ร้อยละ 47.8 แต่นิยมใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อราชการและและธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีภาษาท้องถิ่น เช่น Maithali ร้อยละ 12.1 Bhojpuri ร้อยละ 7.4 Tharu (Dagaura/Rana) ร้อยละ 5.8 Tamang ร้อยละ 5.1 Newar ร้อยละ 3.6 Magar ร้อยละ 3.3 Awadhi ร้อยละ 2.4 Vnjoq ร้อยละ 10 และภาษาท้องถิ่นอีกราว 123 ภาษา
ศาสนา ฮินดู ร้อยละ 80.7 พุทธ ร้อยละ 10.3 อิสลาม ร้อยละ 4.6 คริสต์ ร้อยละ 0.5 อื่น ๆ ร้อยละ 0.3
เชื้อชาติ เผ่าเฉตริ (Chhettri) ร้อยละ 16.6, พราหมณ์ (Brahman-Hill) ร้อยละ 12.2, เผ่ามาคาร์ (Magar) ร้อยละ 7.1, เผ่าตารุ (Tharu) ร้อยละ 6.6, เผ่าตามัง (Tamang) ร้อยละ 5.8, เผ่าเนวาร์ (Newar) ร้อยละ 5, เผ่ายาดาวา (Yadav) ร้อยละ 4, เผ่าราย (Rai) ร้อยละ 2.3, เผ่าคุรุง (Gurung) ร้อยละ 2, เผ่าธิมัล(Dhimal/Dholii) ร้อยละ 1.8, เผ่าฐากูรี (Thakuri) ร้อยละ 1.6, เผ่าลิมบู (Limbu) ร้อยละ 1.5, เผ่าทาลี (Teli) ร้อยละ 1.4, ชาติพันธุ์ราว 125 กลุ่ม ร้อยละ 32.1
GENERAL INFORMATION
สกุลเงิน รูปีเนปาล (NPR)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท : 3.47 รูปีเนปาล (NPR)
การขอวีซ่า ผู้ที่ต้องการยื่นเรื่องขอวีซ่า สามารถขอวีซ่าแบบประเภท Visa-on-Arrival ได้ที่ช่องทางอนุญาตด่านตรวจคนเข้าเมือง ณ ท่าอากาศยานนานาชาติตรีภูวัน (วีซ่าท่องเที่ยวประเภท 15 วัน, 30 วัน หรือ 90 วัน) หรือสามารถทำเรื่องยื่นขอวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูตทูตเนปาล กรุงเทพมหานคร หรือมียกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างกัน (ระยะเวลา 90 วัน)
วันสำคัญ วันชาติ 20 กันยายน (วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2558)
ระบอบการเมือง ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ
ประธานาธิบดี พิทยา เทวี บันดารี (Bidhya Devi Bhandari)
นายกรัฐมนตรี นายคัดกา ปราสาท โอลิ (Khadga Prasad Sharma Oli)
อุตสาหกรรมหลัก การท่องเที่ยว สิ่งทอ ปอกระเจา น้ำตาล ปูนซีเมนต์และอิฐ
สินค้านำเข้า ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เครื่องจักรและส่วนประกอบ ทองค้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และเวชภัณฑ์
สินค้าส่งออก เสื้อผ้าสำเร็จรูป พรม ผ้าปาสมีนา สิ่งทอ น้ำผลไม้ และสินค้าจากปอกระเจา
นำเข้าสินค้าจาก อินเดีย จีน
ส่งออกสินค้าไป อินเดีย สหรัฐอเมริกา และตุรกี
GDP 7.1 (2019)

HISTORY
เนปาล (Nepal) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเทือกเขาหิมาลัย มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับทิเบตและจีน ส่วนทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ติดกับอินเดีย
เนปาลก่อตั้งขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 โดยสมเด็จพระราชาธิบดี Prithvi Narayan Shah แห่งราชวงศ์ชาห์ ผู้ รวบรวมรัฐต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรกุรข่า (Gorkha) ย้อนกลับไปราวปีค.ศ. 1559 (พ.ศ. 2102) ยุคสมัยการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิตะวันตก เนปาลอยู่ภายใต้การปกครองของเผ่ากุรข่า (Gorkha) เช่นเดียวกับประเทศในแถวเอเชียใต้ เนปาลได้ทำสงครามเพื่อปกป้องอาณาเขตของตนกับสหราชอาณาจักร ในสงคราม Anglo-Nepalese War สงครามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ จึงทำให้เกิดการทำสนธิสัญญา Sugauli กับบริติชราช (British Raj) เพื่อแลกดินแดนบางส่วนของเนปาลกับการรักษาเอกราชของตนเองไว้ หลังจากการทำสนธิสัญญาเนปาลถูกปกครองโดยตระกูลรานา (Rana) ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นผ็บริหารประเทศ และลดทอนอำนาจกษัตริย์ลด เพื่อกอบกู้เสถียรภาพกลับคืนมาสู่เนปาล
จวบจนในปีค.ศ. 1951 (พ. ศ. 2494) อำนาจของตระกูลรานาก็ได้สิ้นสุดลง และมีการรื้อฟื้นระบอบกษัตริย์ขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้เนปาลเข้าสู่การการปกครองแบบกึ่งประชาธิปไตย ภายใต้การนำของสมเด็จพระราชาธิบดีตรีภูวัน (King Tribhuvan) เริ่มมีการใช้การปกครองแบบรัฐสภา โดยใช้ระบบรัฐสภาแบบสภาเดียวและไม่มีพรรคการเมือง จนถึงราวปีค.ศ. 1990 (พ.ศ.2533) ได้มีการเรียกร้องให้ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพรรคการเมืองหลายพรรค (Multi-Party System) จึงทำให้มีการยกเลิกข้อห้ามไม่ให้มีพรรคการเมือง และปฏิรูปรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งจัดตั้งรัฐสภาหลายพรรคร่วมกับกษัตริย์ ทำให้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ 1991 (พ.ศ. 2534) เนปาลจัดการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งแรก
ต่อมาช่วงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) กลุ่มเหมาอิสต์ได้ประกาศสงครามประชาชน เพื่อต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีความพยายามในการเจรจาสันติภาพและทำข้อตกลงต่างๆ แต่ไม่สำเร็จผลเท่าที่ควร กลุ่มเหมาอิสต์ยังคงขยายอิทธิพลอย่างต่อเรื่อง ท้ายที่สุดเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) สมเด็จพระราชาธิบดีคเยนทรายอมคืนอำนาจให้ประชาชน และมีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพ (The Comprehensive Peace Agreement (CPA) นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองที่สำคัญที่ทำให้เกิดการประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ รวมทั้งมีการผ่านกฎหมายที่จะเปลี่ยนเนปาลเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญถูกจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) และได้มีการประกาศให้ เนปาลเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551)
CULTURE
ประเทศเนปาลประกอบไปด้วยประชากรที่มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทั้งกลุ่มชนที่อพยพมาจากทิเบต สิกขิม บริเวณภูเขาในแคว้นอัสสัมและเบงกอล และกลุ่มชนที่อพยพมาจากที่ราบลุ่มทางตอนเหนือของอินเดีย ทำให้เนปาลมีชาวเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในประเทศ ราว 125 กลุ่มด้วยกัน และมีภาษาท้องถิ่นอีกราว 123 ภาษา โดยแต่ละเผ่าก็ยังดำรงไปซึ่งเอกลักษณ์ทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา และวัฒนธรรมของตน
ประชากรเนปาลส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 80.6 ตามมาด้วยศาสนาพุทธ ร้อยละ 11 ซึ่งสองศาสนานี้มีความเกี่ยวข้องกันมาอย่างยาวนาน เป็นรากฐานให้กับสังคมเนปาล ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 3.2 นับถือผีศาสนา Kirant ของชนพื้นเมือง ร้อยละ 3.6 และ ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.5

เผ่าพราหมณ์ (Brahmin-Hill)
เผ่าตารุ (Tharu)


เผ่าเฉตริ(Chhetris)
เผ่ามาคาร์ (Magar)

FESTIVAL
ประเทศเนปาลประกอบไปด้วยประชากรที่มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทั้งกลุ่มชนที่อพยพมาจากทิเบต สิกขิม บริเวณภูเขาในแคว้นอัสสัมและเบงกอล และกลุ่มชนที่อพยพมาจากที่ราบลุ่มทางตอนเหนือของอินเดีย ทำให้เนปาลมีชาวเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในประเทศ ราว 125 กลุ่มด้วยกัน และมีภาษาท้องถิ่นอีกราว 123 ภาษา โดยแต่ละเผ่าก็ยังดำรงไปซึ่งเอกลักษณ์ทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา และวัฒนธรรมของตน
ประชากรเนปาลส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 80.6 ตามมาด้วยศาสนาพุทธ ร้อยละ 11 ซึ่งสองศาสนานี้มีความเกี่ยวข้องกันมาอย่างยาวนาน เป็นรากฐานให้กับสังคมเนปาล ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 3.2 นับถือผีศาสนา Kirant ของชนพื้นเมือง ร้อยละ 3.6 และ ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.5
เทศกาลมหาศิวะราตรี (Shivaratri)


เทศกาลเทศกาลติฮาร์ (Tihar)
เทศกาลพิสเกต ยาตรา (Bisket Jatra)


เทศกาลทัศอิน (Dashain)
FOOD




Dal Bhat
อาหารจากหลักของชาวเนปาล มีลักษณะคล้ายซุปถั่ว ทำจากถั่วเลนทิลและเครื่องเทศ มักรับประทานคู่กับข้าวหรือโรตี ผักดอง แกงกะหรี่และโยเกิร์ต
Pulao
มีลักษณะคล้ายข้าวผัด กับเครื่องเทศ ได้แก่ หมิ้นและยี่หร่า พร้อมกับผัก เช่น ถั่ว มันฝรั่ง นิยมทานกันมากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่น
Thukpa
มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยว เส้นคล้ายบะหมี่ น้ำซุปลักษณะข้น ทานร่วมกับเนื้อสัตว์ เช่น จามรี แพะ แกะ หรือไก่และผัก ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารทิเบต แต่ของเนปาลจะมีความเผ็ดร้อนมากกว่า
Sel Roti
ขนมที่จากแป้งข้าวเจ้ามีลักษณะคล้ายกับโดนัท แต่เนื้อสัมผัสคล้ายกับขนมปังเบเกิล นำไปทอดจนด้านนอกกรอบและมีรสหวาน นิยมรับประทานเป็นขนมในช่วงเทศกาล เทศกาลทัศอิน และเทศกาลเทศกาลติฮาร์
POLITICS
เนปาลได้ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ รวมทั้งมีการผ่านกฎหมายเพื่อเปลี่ยนเนปาลเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญถูกจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 10 เมษายน 2551 และได้มีการประกาศให้ เนปาลเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551

พรรคการเมือง
พรรคการเมืองสำคัญได้แก่
พรรคคองเกรสเนปาล (Nepali Congress-NC)
พรรคสามัคคีมาร์ซิสต์-เลนินนิสต์ (Communist Party of Nepal/United Marxist Leninist-CPN/UML)
พรรคคอมมิวนิสต์เนปาลหรือเหมาอิสต์ (Communist Party of Nepal/Maoist-CPN/MC)
ฝ่ายบริหาร
ฝ่ายนิติบัญญติ
เนปาลใช้ระบบสภาแบบสหพันธรัฐ (federal parliamentary republic) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีมาจากการสรรหาของสมาชิกรัฐสภา ส่วนนายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการบริหารประเทศและมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน และมีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2557
สภาร่างรัฐธรรมนูญมีสมาชิก จำนวน 601 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 240 คน คัดเลือกตัวแทนจากทั่วประเทศ จำนวน 335 คน และมาจากการสรรหาของคณะรัฐมนตรี จำนวน 26 คน การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดเมื่อ 19 พ.ย.2556 และมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 – กุมภาพันธ์ 2561 ตามมา
ฝ่ายตุลาการ
ECONOMY
เนปาลถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศยากจน ประชากรประมาณ 1 ใน 4 อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน การพัฒนาประเทศยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ เนื่อจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนปาลเผชิญหน้ากับความไม่สงและความไม่มั่นคงทางการเมือง เช่น เหตุการณ์ความไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่มเหมาอิสต์ และรัฐบาล รวมทั้งการก้าวขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองของกลุ่มเหมาอิสต์
เศรษฐกิจเนปาลมีการขยายตัวเพียงเล็กน้อยเพราะได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวต้นปี 2558 ได้สร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างพื้นฐานและระบบเศรษฐกิจ ประกอบกับการถูกอินเดียสกัดดั้นทางการค้าเมื่อปี 2558 เนื่องจากเนปาลเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล จึงจำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอินเดียจึงมีความสัมพันธ์ต่อนโยบายการค้า เนื่องจากการนำเข้าส่งออกสินค้าของเนปาลจะต้องผ่านอินเดียเพื่ออกสู่ทะเล
ทั้งนี้ การจัดตั้งรัฐบาลของเนปาลได้แล้วเสร็จไปเมื่อ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 พร้อมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถือได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่จะทำให้แนวโน้มการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของเนปาลพัฒนาไปได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น
ความได้เปรียบเชิงภูมิประเทศที่ราบสูงเชิงภูเขาของเนปาล ทำให้รัฐมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน (FDI) ในสาขาพลังงานน้ำ ซึ่งเนปาลมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำได้สูง แต่เนื่องจากรัฐบาลยังไม่มีเสถียรภาพ และไม่มีศักยภาพในการสรรหาเทคโนโลยีทันสมัยเพียงพอ นอกจานี้ ยังสนใจให้การส่งเสริมการลงทุนด้านการบริการและการท่องเที่ยว เกษตรกรรม และเหมืองแร่ เช่น แร่ควอทซ์ แร่ลิกไนต์
เกษตรกรรมยังเป็นอีกหนี่งตัวขับเคลื่นที่สำคัญของเนปาล 2 ใน 3 ของจำนวนประชากรประกอบอาชีพเกษตกร ได้แก่ผลผลิตจำพวกปอ ข้าว รวมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ปอ อ้อย ยาสูบ และธัญพืช ทรัพยากรสำคัญ ป่าไม้ สถานที่ท่องเที่ยว พลังงานน้ำ แร่ควอทซ์ แร่ลิกไนต์ ทองแดง โคบอลต์ แร่เหล็ก ส่วนอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การท่องเที่ยว เสื้อผ้าสำร็จรูป สิ่งทอ ผ้าพาชมีนา พรม และงานหัตถกรรม

DIPLOMATIC RELATIONS BETWEEN THAILAND
ไทย-เนปาล ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับอัครราชทูตเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2502 และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำระดับสูงให้หลายวาระ ไทยได้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่เนปาลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 โดยเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้านการเกษตร สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐศาสตร์ และการค้าการลงทุน โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (JC) ไทย–เนปาล ตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2532 และต่อมาได้มีการจัดตั้งสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างเนปาล-ไทย (Nepal-Thailand Chamber of Commerce and Industry: NTCCI) เมื่อปีพ.ศ. 2533 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างนักธุรกิจของเนปาลและไทย เนื่องจาก เนปาลสนใจที่จะเพิ่มช่องทาง เพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น
นอกจากนี้ ไทยและเนปาลได้ร่วมทำแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการเชิงพุทธศาสนา เนื่องจากเนปาลมีสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ได้แก่ เมืองลุมพินีหรือเมืองจานักปูร์
ไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์กับประเทศไทยเท่านั้น เนปาลมุ่งสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอื่นๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค ได้แก่ สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) และความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation หรือ BIMSTEC)
References
– https://www.ditp.go.th/contents_attach/559475/559475.pdf
– https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?
filename=contents_attach/559472/559472.pdf&title=559472&cate=1280&d=0
– http://readgur.com/doc/2258610/factsheet–เนปาล—-สถานเอกอัครราชทูต-ณ-กรุงกาฐมาณฑุ-roya…
– https://kmc.exim.go.th/detail/knowledge-exim/20190702185438922
– https://www.nia.go.th/niaweb59/Data2562.pdf
– https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/np.html
– http://203.209.117.11/index.php/asia-
dtn/item/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5.html
– http://203.209.117.11/files/60/ASIA/Nepal_cp_1061.pdf
– http://mfa.go.th/main/th/other/9241/99305-สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล-(Nepal).html
– https://www.worldatlas.com/articles/largest-ethnic-groups-in-nepal.html
– https://www.adb.org/countries/nepal/economy
– https://www.worldbank.org/en/country/nepal/overview
– https://www.britannica.com/place/China/Tibet-and-Nepal#ref590556
– https://mofa.gov.np/about-nepal/history-of-nepal/
– https://www.insidehimalayas.com/major-festivals-of-nepal-2019/
– https://traveltriangle.com/blog/festivals-of-nepal/
– https://www.insidehimalayas.com/major-festivals-of-nepal-2019/
– https://www.nepalisansar.com/culture/nepalis-ethnic-groups/
– https://www.worldatlas.com/articles/largest-ethnic-groups-in-nepal.html
– https://theculturetrip.com/asia/nepal/articles/nepalese-food-wholesome-himalayan-bites/
– https://www.holidify.com/pages/food-of-nepal-2118.html
Photo credit :
– Gold temple Photo by Bianca Willshire on Unsplash
– Ethnic Group- Chhetri by bidNtravel on Pinterest
https://www.pinterest.com/pin/300826450094244358/
– Brahmin Hill in Nepal by Ksssshl on Wikidata
https://www.wikidata.org/wiki/Q13183983#/media/File:Gaze_of_a_priest.JPG
– Ethnic Group- Magar on The Kathmandu Post https://kathmandupost.com/visual-
stories/2018/02/27/36th-magar-day-celebrated-with-fanfare-in-photos
– Ethnic Group-Tharu by FacebookPage : Tharu Culture https://www.facebook.com/pg/Tharu-Culture-
161090154592038/posts/?ref=page_internal
– Tihar – Deepawali Or Dewali – The Shining Festival by Go Nepal Tours
https://www.gonepaltours.com/nepal-festivals-top-10-major-festivals-in-nepal/
– Bisket Jatra – The Chariot Festival Of Bhaktapur by Go Nepal Tours
https://www.gonepaltours.com/nepal-festivals-top-10-major-festivals-in-nepal/
– Dashain festival in Kathmandu, Nepal by Xinhua
on http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2018-10/10/c_137522991_4.htm
– Maha Shivaratri by Festivals of Nepal on https://festivalsofnepal.com/maha-shivaratri/
– Dal Bhat TarkariNepal by holidify on
https://www.holidify.com/images/cmsuploads/compressed/Dal_Bhat_TarkariNepal_20190527155929.JPG
– Sel_Roti by holidify on
https://www.holidify.com/images/cmsuploads/compressed/Sel_Roti_20190527160708.jpg
– THUKPA by COOK WITH RENU on https://cookwithrenu.com/2019/09/thukpa-vegetable-noodle-
soup.html
– Nepalese Vegetable Pulao Recipe by Archana’s Kitchen on https://www.archanaskitchen.com/
nepalese-veg-pulao-recipe
– Thamel, Kathmandu, Nepal 1 Photo by Adli Wahid on Unsplash
– Kathmandu, Nepal Photo by Elton Sa on Unsplash