ข่าวปลอมถือเป็นภัยทางความมั่นคงของประเทศอินเดีย เมื่อบวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้การแพร่กระจายเนื้อหาเป็นไปอย่างรวดเร็วและปราศจากการตรวจสอบ ดังนั้นเมื่อผู้ผลิตสื่อขาดกลไกการตรวจสอบ กำกับ ควบคุม และคัดกรองจากตนเองแล้ว รัฐบาลอินเดียจึงเล็งเห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบให้เกิดความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือในส่วนของผู้เผยแพร่ข้อมูล รัฐบาลอินเดียจึงเริ่มใช้มาตรการที่จะควบคุมการแสดงตัวตนผ่านสื่อสังคมออนไลน์
Mappingextremism
ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่มีความเคลื่อนไหวของแนวคิดพุทธสุดโต่งอย่างชัดเจน บทความนี้ จึงอยากให้ทุกท่านได้รู้จักกับกลุ่ม Bodhu Bala Sena หรือ The Buddhist Power Force (บ้างก็แปลว่า The Army of Buddhist Power) ซึ่งเป็นองค์กรชาตินิยมชาวพุทธสิงหล ที่เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวและเผยแพร่แนวคิดพุทธสุดโต่งในศรีลังกา
หลังจากเหตุการณ์การกราดยิงในมัสยิดที่ประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาเหตุการณ์ความสลดก็เกิดขึ้นอีกครั้งในประเทศศรีลังกาในวันอาทิตย์ที่ 21เมษายน 2562 ด้วยการวางระเบิดกว่า 8 จุด เหตุการณ์ในครั้งนี้มีผู้บาดเจ็บกว่า 500 คน จนรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าว แม้สถานที่ทั้งสองที่เกิดขึ้นจะต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การก่อเหตุในพื้นที่ศาสนสถานและผู้คนกำลังร่วมพิธีกรรมทางศาสนาไม่ต่างกัน
ความรุนแรงในแคชมีร์ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ชื่อของบูรฮาน วานี (Burhan Wani) เด็กหนุ่มจากเมืองปุลวามาก็ได้รับการเอ่ยถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งจากสื่อมวลชนและประชาชนในพื้นที่ในฐานะอดีตหัวหน้านักรบของกองกำลังปลดแอกแคชมีร์ ฮิซบัลมุจญาฮิดีน (Hizb-ul-Mujahideen) ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแคชมีร์ ณ ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในประเทศซีเรีย ชามิน่า เบกุม เด็กสาวสัญชาติอังกฤษเชื้อสายบังกลาเทศหนึ่งในเด็กสาวสามคนจากเขตเบทนัลกรีนในกรุงลอนดอนที่หายตัวจากบ้านไปเพื่อเข้าร่วมขบวนการไอเอส (IS – Islamic State) ในประเทศซีเรียก็กำลังพยายามร้องขอต่อรัฐบาลอังกฤษเช่นกัน น่าสนใจว่าอะไรคือแรงกระตุ้นที่ทำให้คนหรือสังคมหนึ่งๆ มีใจโน้มเอียงไปทางแนวคิดสุดโต่ง?
ภายใต้สถานการณ์เปราะบางของศรีลังกาเช่นนี้ สื่อหลาย ๆ สำนัก พยายามนำเสนอในรูปของการชี้ประเด็นและชี้ชัดว่าใคร กลุ่มไหน และขับเคลื่อนด้วยวิธีใด แต่เรื่องดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ สื่อของศรีลังกา จึงไม่พยายาม “ฟันธง” แบบด่วนสรุป เพราะชาวศรีลังการู้ดีว่า การนำเสนอแบบฟันธงอาจก่อให้เกิดความรุนแรงตอบโต้ตามมา จนอาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่เคยเกิดขึ้นระหว่างสิงหลและทมิฬในอดีตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับจินตนาการว่าด้วยความเป็นพลเมืองในรัฐชาติเดียวกันอย่างไร? ประวัติศาสตร์นั้นเป็นโครงสร้างของเรื่องเล่าที่ทำหน้าที่ในการค้ำชู“ความเป็นชาติ” ผ่านเรื่องเล่าต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ในสังคม ต่อเรื่องเล่าเหล่านี้ยังได้กลายมาเป็นจินตนาการที่ทำให้ปัจเจกมองเห็นตนเองในฐานะพลเมืองของชาติหนึ่งๆ ผ่านการคัดส่วนที่ใช้ได้และคัดทิ้งความจริงหลายส่วนออกไป
โรคเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobia) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามกับกลุ่มศาสนาอื่น ๆ อิสลามถูกมองว่าเป็นศาสนาที่ใช้ความรุนแรง และนำคำสอนของศาสนามาชักจูงให้เกิดการก่อการร้ายทั่วทุกมุมโลก แม้ว่าหลักคำสอนของศาสนาอิสลามนั้น เน้นในเรื่องความสันติ ความสงบสุข และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ด้วยปัญหานี้การจัดตั้งสื่อมุสลิมขึ้นมาในสังคมไทยเพื่อนำเสนอโลกมุสลิมให้สังคมไทยเข้าใจอิสลามมากขึ้
สื่อสังคม (Social Media) เป็นสื่อที่เปิดกว้างให้ใครก็ได้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาได้ด้วยตนเอง จนส่งผลให้กลายสื่อหลักที่ช่วยแพร่กระจายแนวคิดสุดโต่ง สร้างความเกลียดชังระหว่างคนต่างศาสนา รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการแสดงออกถึงประทุษวาจา (Hate Speech) และอาจนำไปสู่การรวมตัวเพื่อการแสดงความรุนแรงเชิงกายภาพต่อผู้นับถือศาสนาอิสลามได้อย่างง่ายดาย
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2562 อิมราน ข่าน (Imran Khan) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานออกเดินทางไปยังกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เพื่อเข้าพบประธานาธิบดีของอิหร่าน ดร. ฮัสซัน โรฮานี (Dr. Hassan Rouhani) แม้เหตุผลการเดินทางในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในฐานะคนกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและซาอุดิอาราเบีย แต่ประเด็นหลักที่สำหรับอิมราน ข่าน คือ “ปัญหาแคชเมียร์” ทำให้การพบปะระหว่างอิมราน ข่านและโรฮานีครั้งนี้ “ประเด็นแคชเมียร์” จึงเป็นหัวข้อการแลกเปลี่ยนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
จากสถานการณ์ปัญหาข่าวปลอมที่กระจายตัว และสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวาง รัฐบาลอินเดียได้ใช้โอกาสนี้เข้าแทรกแซงเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความยุติธรรมในการใช้อำนาจดังกล่าว จนเกิดเป็นคำถามว่ารัฐบาลจะทำลายปีศาจตัวเดิมโดยการสร้างปีศาจตัวใหม่ขึ้นมาเองหรือไม่