ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่มีความเคลื่อนไหวของแนวคิดพุทธสุดโต่งอย่างชัดเจน บทความนี้ จึงอยากให้ทุกท่านได้รู้จักกับกลุ่ม Bodhu Bala Sena หรือ The Buddhist Power Force (บ้างก็แปลว่า The Army of Buddhist Power) ซึ่งเป็นองค์กรชาตินิยมชาวพุทธสิงหล ที่เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวและเผยแพร่แนวคิดพุทธสุดโต่งในศรีลังกา
Politics
หลังจากเหตุการณ์การกราดยิงในมัสยิดที่ประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาเหตุการณ์ความสลดก็เกิดขึ้นอีกครั้งในประเทศศรีลังกาในวันอาทิตย์ที่ 21เมษายน 2562 ด้วยการวางระเบิดกว่า 8 จุด เหตุการณ์ในครั้งนี้มีผู้บาดเจ็บกว่า 500 คน จนรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าว แม้สถานที่ทั้งสองที่เกิดขึ้นจะต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การก่อเหตุในพื้นที่ศาสนสถานและผู้คนกำลังร่วมพิธีกรรมทางศาสนาไม่ต่างกัน
ความรุนแรงในแคชมีร์ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ชื่อของบูรฮาน วานี (Burhan Wani) เด็กหนุ่มจากเมืองปุลวามาก็ได้รับการเอ่ยถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งจากสื่อมวลชนและประชาชนในพื้นที่ในฐานะอดีตหัวหน้านักรบของกองกำลังปลดแอกแคชมีร์ ฮิซบัลมุจญาฮิดีน (Hizb-ul-Mujahideen) ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแคชมีร์ ณ ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในประเทศซีเรีย ชามิน่า เบกุม เด็กสาวสัญชาติอังกฤษเชื้อสายบังกลาเทศหนึ่งในเด็กสาวสามคนจากเขตเบทนัลกรีนในกรุงลอนดอนที่หายตัวจากบ้านไปเพื่อเข้าร่วมขบวนการไอเอส (IS – Islamic State) ในประเทศซีเรียก็กำลังพยายามร้องขอต่อรัฐบาลอังกฤษเช่นกัน น่าสนใจว่าอะไรคือแรงกระตุ้นที่ทำให้คนหรือสังคมหนึ่งๆ มีใจโน้มเอียงไปทางแนวคิดสุดโต่ง?
ภายใต้สถานการณ์เปราะบางของศรีลังกาเช่นนี้ สื่อหลาย ๆ สำนัก พยายามนำเสนอในรูปของการชี้ประเด็นและชี้ชัดว่าใคร กลุ่มไหน และขับเคลื่อนด้วยวิธีใด แต่เรื่องดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ สื่อของศรีลังกา จึงไม่พยายาม “ฟันธง” แบบด่วนสรุป เพราะชาวศรีลังการู้ดีว่า การนำเสนอแบบฟันธงอาจก่อให้เกิดความรุนแรงตอบโต้ตามมา จนอาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่เคยเกิดขึ้นระหว่างสิงหลและทมิฬในอดีตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับจินตนาการว่าด้วยความเป็นพลเมืองในรัฐชาติเดียวกันอย่างไร? ประวัติศาสตร์นั้นเป็นโครงสร้างของเรื่องเล่าที่ทำหน้าที่ในการค้ำชู“ความเป็นชาติ” ผ่านเรื่องเล่าต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ในสังคม ต่อเรื่องเล่าเหล่านี้ยังได้กลายมาเป็นจินตนาการที่ทำให้ปัจเจกมองเห็นตนเองในฐานะพลเมืองของชาติหนึ่งๆ ผ่านการคัดส่วนที่ใช้ได้และคัดทิ้งความจริงหลายส่วนออกไป
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้ หลังจากรัฐบาลอินเดียได้ประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 370 และ 35 A รวมทั้งส่งกองกำลังทหารกว่า 35,000 คนเพื่อตรึงพื้นที่ในรัฐจัมมูและแคชเมียร์ เริ่มมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และห้ามมีการชุมนุมในที่สาธารณะ เป็นการบ่งบอกถึงสถานภาพเขตปกครองพิเศษของรัฐจัมมูและแคชเมียร์ที่เคยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1957 ได้สิ้นสุดลง การยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ส่งผลให้ดินแดนดังกล่าวต้องเปลี่ยนสถานะมาอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลกลางของอินเดีย รวมทั้งอาจทำให้เกิด “กงล้อความรุนแรงระลอกใหม่” ขึ้นมาอีกครั้ง