สำรวจเนื้อแท้ของอัฟกานิสถานมีหน้าตาอย่างไร? ผ่านเรื่องเล่าวรรณกรรมที่ทรงอิทธิพลเรื่องหนึ่งของยุคสมัย “The Kite Runner” หรือ “เด็กเก็บว่าว”
southasiainsight
เมื่อพูดภาพยนตร์รักโรแมนติก หรือภาพยนตร์แนว “Coming of Age” ส่วนมากชวนให้นึกถึง ความรักของคนวัยหนุ่มสาวก่อนเสมอ ต่างจากวัยกลางคนที่เรื่องราวความรักดูเป็นเรื่องไกลตัว เป็นช่วงเวลาที่ทุกอย่างควรจะลงตัวและมั่นคงที่สุด แต่แท้จริงแล้ววัยผู้ใหญ่ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน เฉกเช่นชีวิตของ‘ธารา’ และ ‘อัมมาร์’ ในภาพยนตร์เรื่อง Once Again
Umrika ภาพยนตร์รางวัล Audience Award จากเทศกาล Sundance ปีค.ศ. 2015 สะท้อนเรื่องราวเบื้องหลังแรงผลักดันของแรงงานอพยพชาวอินเดียที่ไปแสวงหาโอกาสในแผ่นดินอเมริกา ช่วงยุค 1970-1980 ผ่านมุมมองของชายหนุ่มในหมู่บ้านห่างไกล
เมื่อนึกถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชของอินเดีย พวกเราโดยส่วนใหญ่ก็มักจะนึกถึงมหาตมาคานธีก่อนเป็นลำดับแรก หากแต่ยังมีบุรุษร่างใหญ่ที่มักจะยืนเคียงข้างท่านมหาตมา นานว่า ฃ่าน อับดุล ฆอฟฟัร ฃ่านได้รับการขนานนามว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่า “คานทีแห่งจังหวัดพรมแดน” และ “ราชาแห่งฃ่าน หรือ บาดชาห์ฃ่าน” จากความรักในสัจจะและอุดมการณ์ที่จะสร้างสังคมอันสันติและยุติธรรมที่พวกเขามีร่วมกัน
แม้ว่ากลุ่มตอลิบานประกาศชัยชนะบนดินแดนอัฟกานิสถานจะสามารถประกาศชัยชนะบนดินแดนอัฟกานิสถานได้แล้วก็ตาม แต่ในช่วงช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ กลุ่มตอลิบาน อาจต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายมิติ ทั้งในเรื่องการเมืองการปกครอง และความสัมพันธ์ระดับนานาชาติ และอีกหลายประเด็นที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงและที่จับตามองของทั่วโลก
สำรวจวัฒนธรรมอาหารของรัฐจัมมูและแคชเมียร์ อดีตเส้นทางสายไหมที่สำคัญ ผ่านสารคดีชุด Raja, Rasoi Aur Anya Kahaniyaan
เนื้อเย็น หรือ ฐัณฑา โคศฺต (ठंडा गोश्त) เป็นเรื่องสั้นสุดอื้อฉาวของ ซะอาดัต ฮะซัน มันโต ผู้เขียนโตบา เตก ซิงห์ เรื่องสั้นที่ให้ภาพความโหดร้ายของความขัดแย้งระหว่างชุมชนในช่วงของการแบ่งแยกอินเดีย ค.ศ. 1974 ได้ดีที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง
ร่วมรำลึกเหตุการณ์ร่แบ่งแยกอินเดียในปี ค.ศ. 1947 ผ่านบทกวีบทที่สร้างชื่อให้กับอมฤตา ปริตัม เรื่อง อัช อาขํา วาริศ ชาห์ นูน หรือ “วันนี้ฉันจะพูดกับวาริศ ชาห์” คำตัดพ้อของอมฤตาต่อกวีชาวปัญจาบที่มีนามว่า วาริศ ชาห์ กวีแห่งปัญจาบ เพื่อปลุกเรียกให้วาริศ ชาห์ให้ฟื้นตื่นจากหลุมศพเพื่อจดจารกวีบทใหม่ในหนังสือแห่งรัก
หนังสือ Real & Imagined Women: Gender, Culture and Postcolonialism ว่าด้วยแนวคิดสตรีนิยมยุคหลังอาณานิคมของอินเดียผ่านพิธีกรรม “สตี” (Sati) ที่สะท้อนให้เห็นเรือนร่างของผู้หญิงในฐานะพื้นที่การปะทะกันระหว่างสังคม วัฒนธรรม การเมือง วรรณะแบบอินเดีย และเจ้าอาณานิคมอย่าง จักรวรรดินิยมอังกฤษ ต่างมีส่วนเข้าไปกำกับความเป็นจริง (real) หรือ จินตภาพ (imagined) ของผู้หญิงทั้งสิ้น
ประเทศอัฟกานิสถานอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาอย่างยาวนาน ตลอดระยะเวลายาวนานเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่เหตุการณ์ก่อวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือเหตุการณ์ 9/11 ที่สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้นโยบายการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สงครามความขัดแย้งที่ยาวนานกำลังจะยุติลงจากนโยบายถอนกองกำลังทหารของสหรัฐอเมริกาภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 จึงเป็นที่น่าจับตามองความเป็นไปที่จะเกิดขึ้นกับประเทศอัฟกานิสถานหลังจากนี้