โดย ดร.บัณฑิต อารอมัน นักวิจัยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ครั้งแรกที่ MAPPING EXTREMISM IN SOUTH ASIA วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 https://xstremarea.home.blog/2019/02/13/147/ มัดดารอซะฮ์ (Madrasa) เป็นคำมาจากภาษาอาหรับ แปลว่า สถานศึกษาหรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับวิชาศาสนกิจของศาสนาอิสลาม เน้นการเรียนการสอนในวิชาคำภีร์อัลกรุอาน วิชาฮาดิษ (คำสอนของศาสดามูฮำหมัด) วิชากฎหมายอิสลาม หลักจริยธรรมอิสลาม ปัจจุบันมัดดารอซะฮ์ได้ปรับให้มีวิชาสามัญผสมผสานอยู่ในหลักสูตรด้วย อาทิ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย สังคมศึกษา เป็นต้น มัดดารอซะฮ์จึงเป็นสถานศึกษาที่ที่ผู้ปกครองชาวมุสลิมมุ่งหวังให้ลูกหลานของตนเองได้เรียนทั้งศาสนาและสามัญควบคู่กันไป โดยใช้หลักการของศาสนาอิสลาม มีคำภีร์อัลกรุอานเป็นทางนำของการพัฒนาองค์ความรู้ในทุกๆ แขนงวิชา ชาวมุสลิมเชื่อว่าคำภีร์อัลกรุอานถือเป็นหลักคำสอนโดยตรงจากพระองค์อัลลอฮ (ซบ.) เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องสนับสนุนให้บุตรหลานได้เล่าเรียน และเป็นกุญแจสำคัญของทางนำชีวิตในโลกนี้ สถานศึกษามัดดารอซะฮมีความแตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆ ไป กล่าวคือ นักเรียนที่เข้ามาเรียนใน มัดดารอซะฮ์จะต้องมาพำนักอยู่ในโรงเรียน โดยแยกสัดส่วนระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิง มีการปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน อาทิ […]