ปัจจุบันวัคซีนเป็นสิ่งล้ำค่าและเป็นที่ต้องการของรัฐบาลในชาติต่างๆ อย่างมาก จึงไม่แปลกหากประเทศไหนสามารถผลิตวัคซีนย่อมเนื้อหอมและเป็นที่ต้องการของชาติอื่นๆ ทำให้วัคซีนกลับกลายเป็นเครื่องมือต่อรองในเกมการเมืองไปด้วยเช่นกัน
COVID-19
เมื่อวันที่ 8 – 10 มิถุนายน 2563 ได้มีการประชุมสุดยอดผู้นำรุ่นใหม่ The 3rd ASEAN–India Youth Dialogue สาระสำคัญของการประชุมมุ่งประเด็นไปที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในแง่สภาพการณ์ปัจจุบัน มาตราการจากภาครัฐ รวมถึงการเข้าไปมีบทบาททางสังคมของคนรุ่นใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีใคร หรือประเทศใด ที่กำลังต่อสู้กับวิกฤติโรคระบาดนี้เพียงลำพัง
ภูมิภาคเอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากที่สุดในโลกสถานการณ์การแผ่กระจายเชื้อโควิด 19 ทำให้แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้กำลังเผชิญกับอุปสรรคทั้งในแง่ของการใช้มาตรการป้องกันการแพร่กระจายและผลกระทบทางเศรษฐกิจครั้งใหม่
แคมเปญ “Finally I Can See God!” หรือ “ในที่สุด ฉันก็เห็นเทพเจ้า” เป็นแคมเปญที่ทำขึ้นโดยบริษัทโฆษณาเล็ก ๆ ชื่อ Kanade Advertising ตั้งอยู่เมือง Ichalkaranji รัฐ Maharashtra ประเทศอินเดีย เพื่อโปรโมตบริษัทตัวเอง ผ่านการรณรงค์เกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าในประเทศอินเดีย
การยกเลิกกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้กระทบกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับประเทศอินเดียดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์จะได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วและรุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ
ในช่วงเวลาที่เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลและระมัดระวังไม่ให้ตนเองหรือผู้อื่นเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามคำแนะนำของสาธารณะสุขแล้ว การดูแลสุขภาพของตนเองตามวิถีอายุรเวทก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและดูแลให้ร่างกายของเราแข็งแรงได้
อาจกล่าวได้ว่าอินเดีย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่อาจจะมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในโลก สำหรับประเทศที่มีประชากรมากกว่า 1.35 พันล้านคน แต่ ณ วันที่ 10 เมษายน 2020 อินเดียมีผู้ติดเชื้อเพียง 6,725 ราย เสียชีวิต 229 ราย ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรระดับมากกว่า 1 พันล้านคน และแน่นอนว่านี่ถือเป็นการลบคำสบประมาทของหลายๆ คนที่มักจะเข้าใจว่าอินเดียคือประเทศยากจน ล้าหลัง และด้อยพัฒนา
เมื่อไวรัส COVID-19 ระบาด ส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และยังไม่มีทีท่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงไป นั่นทำให้อย่างน้อยครึ่งแรกของปี 2020 นี้ จำนวนนักท่องเที่ยวจะลดจำนวนลงอย่างมีนัยสำคัญแน่นอน เราจะต้องรับมือกับผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นกับภาคการท่องเที่ยวอย่างไร
องค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) คือความร่วมมือระหว่าง 8 ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียใต้ ถึงแม้ความร่วมมือระหว่างประเทศจะมีลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ทำให้รัฐบาลอินเดียส่งคำเชิญไปยังประเทศสมาชิกในกลุ่ม SAARC ทุกประเทศ เพื่อให้ผู้นำของทั้ง 8 ประเทศมาร่วมประชุมร่วมกันผ่านระบบทางไกล (VDO Conference) ครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่ผู้นำของกลุ่ม SAARC ได้มาพบปะร่วมกัน
โครงการ สะพานปัทมา (Padma Bridge) เป็นการก่อสร้างสะพานเอนกประสงค์ที่ร่วมมือกันระหว่างจีนและบังกลาเทศ ดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัท ไชน่าเมเจอร์บริดจ์ เอ็นจิเนียริง จำกัด หากแล้วเสร็จจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เดิมคาดว่ามีผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ชาวจีนดำเนินการอยู่ในโครงการนี้กว่า 1000 คน ทว่า ณ ปัจจุบัน 300 คนได้ออกจากโครงการไปแล้วและคาดว่ามีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถกลับเข้าบังกลาเทศได้หลังจากเกิดสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรน่า โดยในช่วง 25 มกราคม 2563 ที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่และพนักงานชาวจีนจำนวนมากเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดเพื่อไปฉลองตรุษจีน เมื่อเกิดการแพร่ระบาดขึ้นทางรัฐบาลบังกลาเทศจึงได้ออกมาตรการป้องกัน โดยมีการตรวจผู้ที่เดินทางกลับจากจีนกว่า 3000 คน และกักกันผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไว้ 14 วันเพื่อเฝ้าสังเกตุการณ์ ในส่วนของเจ้าหน้าที่, ผู้เชี่ยวชาญ และพนักงานชาวจีน ได้มีการจัดสรรที่พักและอาหารแยกต่างหาก เพื่อลดการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนให้น้อยที่สุด นาย Obaidul Quader รัฐมนตรีว่าการกระทรวงขนส่ง ได้กล่าวว่า “มีเจ้าหน้าที่ชาวจีน กว่า 35 คนได้รับการตรวจสอบอย่างดีและสามารถกลับเข้ามาทำงานได้แล้วตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม” ทั้งยังให้ความเชื่อมั่นว่า สถานการณ์การระบาดจะไม่กระทบต่อการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ Padma Bridge […]