เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก ทั้งบทบาทกับหน้าที่ในบ้านและนอกบ้านที่ต้องแบกรับ ผู้หญิงต้องเล่นเกมต่อรองอำนาจ ชิงไหวชิงพริบตลอดเวลา ทั้งกับผู้หญิงด้วยกันเอง และสังคมปิตาธิปไตย จะเป็นอย่างไรหากพวกเธอพร้อมใจกันลุกขึ้นมาปลดแอกตัวเอง เพื่อให้พวกเธอได้เบ่งบานในระหว่างทางอันขรุขระของชีวิตและความรักอีกครั้ง
southasiainsight
คริกเก็ตมีฐานะเป็นกีฬาประจำชาติของอินเดีย ที่ถูกเผยแพร่โดยประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ เพื่อหวังหล่อหลอมชนกลุ่มต่างๆ ที่ขัดแย้งในอินเดียเข้าด้วยกัน แต่แล้วคริกเก็ตนี้เองได้กลายเป็นภาพการแข่งขันเพื่อต่อกรเพื่อเอาชนะเจ้าอาณานิคมเสียเอง คริกเก็ตจึงมีความหมายและความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับคนอินเดียที่แฝงไปด้วยความหมายของความเป็นชาตินิยมอย่างชัดเจน
The White Tiger สะท้อนให้เห็นภาพความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ประเทศที่ภาคภูมิใจกับการเป็น ‘ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก’ ผู้คนโดยเฉพาะคนชั้นล่างต้องถูกกดขี่จากระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ได้เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายครั้งใหญ่ขึ้นในนครมุมไบ ประเทศอินเดีย หรือเรียกสั้นๆ ว่า 26/11 เรื่องราวจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกหยิบมาถ่ายทอดเป็นภาพยนต์ บทความโดย วิทวัส ดีเมฆ นิสิตสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวรชิ้นนี้ จึงอยากชวนไปสำรวจ ความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา ความเหลื่อมล้ำ รวมทั้ง "เหยื่อ" จากสงครามที่เกิดขึ้นจากความเกลียดชังระหว่างคนในชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอินเดียและปากีสถาน ผ่านภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์เรื่อง Hotel Mumbai
วัฒนธรรมในอินเดียที่เรียกว่า “Dabba” (ดับบา) หมายถึง “ปิ่นโต” วัฒนธรรมที่ฝังรากลึกอยู่คู่กับชาวอินเดียเป็นเวลายาวนาน จนกลายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของอินเดีย บทความนี้จึงอยากชวนไปทำความรู้จักวัฒนธรรมปิ่นโตในอินเดียผ่านภาพยนตร์ The Lunchbox หรือเมนูต้องมนต์รัก
โตบา เตก ซิงห์ ของ ซะอาดัต ฮะซัน มันโตเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกๆ พูดถึงเหตุการณ์การแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานและยังถือว่าเป็นงานเขียนที่ทรงพลังมากที่สุดชิ้นหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ในครั้งนั้น เรื่องสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์การแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานโดยใช้ฉากในโรงพยาบาลบ้าป็นทั้งการเปรียบเปรยและเสียดสีของโศกนาฏกรรมแห่งความวิปลาสครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
โดย ดร.บัณฑิต อารอมัน นักวิจัยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 2020 คือวาระครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีการ์ (Aligarh Muslim University) นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 โดย เซอร์ ชัยยิด อะหมัด ข่าน (Sir Syed Ahmad Khan) รัฐบุรุษและนักปฏิวัติมุสลิมคนสำคัญ ช่วงเวลาในขณะนั้นอินเดียยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงการปฏิรูปการศึกษามุสลิมในอินเดีย เซอร์ ชัยยิด อะหมัด ข่าน จึงเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกระลึกถึงและได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้จุดแสงสว่างแห่งวงการศึกษามุสลิมและเปลี่ยนแปลงสังคมมุสลิมในอินเดียด้วยอาวุธทางปัญญาเซอร์ ชัยยิด อะหมัด ข่าน เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 1817 ในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ครอบครัวสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ โมกุล (Mughal) ยศตำแหน่งของเซอร์ ชัยยิด อะหมัด […]
การหวานคืนสู่อำนาจของตระกูล “ราชปักษา” ครั้งยิ่งใหญ่ ได้นำมาซึ่งคำถามว่า ศรีลังกากำลังเผชิญหน้ากับความท้ายทายที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ความเป็นประชาธิปไตยของชาวศรีลังกากำลังอยู่ในภาวะวิกฤติหรือไม่ การเดินเกมทางการเมืองของตระกูล“ ราชปักษา” ล้วนแล้วแต่เป็นความท้าทายและมีนัยสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศในอนาคตทั้งสิ้น การเดินเกมทางการเมืองของตระกูล“ ราชปักษา” จะกลับมามีอำนาจเบ็ดเสร็จในการเมืองของศรีลังกาหรือไม่ คำถามเหล่านี้กำลังเป็นคำถามที่สำคัญและเป็นประเด็นร้อนแรงในการเมืองศรีลังกา
สุนทรพจน์วันที่ 7 มีนาคมชิ้นนี้ถือเป็นคำประกาศเอกราชของบังกลาเทศ และได้รับการยกย่องว่าเป็นสุนทรพจน์ที่บันทึกความทรงจำสำคัญของมนุษยชาติ นอกเหนือจากการปลุกแรงใจให้ประชาชนลุกขึ้นมาพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพของประเทศชาติและตนเองแล้ว ท่านมูญีบุรฺยังได้ให้เค้าโครงที่สำคัญของรัฐในอุดมคติแก่บังกลาเทศและมนุษยชาติ
เมื่อปีคริสตศักราช 1582 สมเด็จพระจักพรรดิอักบัรแห่งราชวงศ์มุฆัลได้ตัดสินใจส่งราชทูต คือ ท่านซัยยิด มูซัฟฟัรและท่านอัลดุลลอฮฺ ข่านให้เดินทางไปยังเมืองโกอาและกรุงลิสบอนพร้อมกับคณะนักบวชเยซูอิต เพื่อถวายพระพรชัยแด่พระเจ้าฟิลิปที่สองแห่งสเปนที่เพิ่งจะได้ขึ้นเถลิงราชเป็นพระเจ้าฟิลิปที่หนึ่งแห่งโปรตุเกส แม้ว่าพระราชสาสน์ฉบับนี้จะไม่ได้มีโอกาสเดินทางไปถึงราชสำนักสเปนและโปรตุเกส แต่เนื้อความของพระราชสาสน์ที่ถูกถ่ายความสู่นานาภาษาในกาลต่อมานั้น ถือเป็นวาทนิพนธ์ชั้นยอดที่แสดงให้เห็นถึงความแยบยลทางการทูตและวิสัยทัศน์กว้างไกลของพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์มุฆัลพระองค์นี้