“ชาวไทยเชื้อสายเนปาลคือใคร” ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ยังรู้จักเนปาลค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอินเดียหรือประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้
southasiainsight
ทำความรู้จักเมืองกัลกัตตาผ่านสายตาของผู้เขียนที่ซื่อตรงต่อความรู้สึก เขายอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าจะอาศัยอยู่ในกัลกัตตานั้นไม่ง่ายเลย แต่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ ไม่ว่าจะวัฒนธรรม ดนตรี ภาพยนตร์ เทศกาล ผู้คน หรืออาหาร ล้วนปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ผ่านการอธิบายที่อ่านเพลิน
ผลงานเรื่องเล่าประวัติศาสตร์เชิงเปรียบเทียบว่าด้วยกษัตริย์และจักรวรรดิซิกข์ ท้าทายการเล่าเรื่องเล่าเรื่องจักรวรรดิซิกข์ว่าเป็นผลผลิตจากพระอัจฉริยภาพของมหาราชารันชิต สิงห์ แต่เพียงผู้เดียว โดยแสดงให้เห็นบทบาทสตรีที่เป็นศูนย์กลางในการขยายอำนาจอธิปไตยของซิกข์
คำปราศรัยของ ชวาหะร์ลาล เนห์รู ต่อที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติอินเดียในช่วงค่ำคืนของวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงเวลาเที่ยงคืนที่เป็นกำหนดที่อินเดียจะได้รับเอกราชนั้นถือว่าเป็นวาทะชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำปราศรัยที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “A Tryst with Destiny - นัดหมายกับโชคชะตา” ฉายภาพให้เราเห็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ผ่านมานับพันปี มาจนถึงชัยชนะของอินเดียเหนือการปกครองของอังกฤษ
คำปราศรัยต่อที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติปากีสถานของ มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ชิ้นนี้ถือเป็นวาทะชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ในคำปราศรัยต่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติปากีสถานที่ประกอบไปด้วยผู้นำทางศาสนา ชนชั้นศักดินาและชนชั้นนำทางการเมือง จินนาห์ได้ฉายภาพอนาคตของปากีสถานตามแนวทางของรัฐฆราวาส ที่แยกศาสนาออกจากการเมือง เขากล่าวถึงปากีสถานที่เปิดกว้างและเป็นธรรม ดินแดนที่ประชาชนมีอิสรภาพในการนับถือศาสนาและมีความเท่าเทียมกันภายใต้กรอบของกฎหมาย
หนังสือเล่มนี้เลือกที่จะเล่าเรื่องราวการส่งมอบเอกราชประเทศผ่าน 5 บุคคลสำคัญ ได้แก่ (1) หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน (2) เอ็ดวินา เมานต์แบ็ตเทน (3) เนห์รู (4) โมฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (Mohammed Ali Jinnah) และ (5) โมหันทาส กรัมจันท์ คานธี หรือมหาตมาคานธี ปฏิกิริยาระหว่างบุคคลเหล่านี้ในช่วงเวลาฤดูร้อนในอินเดีย คือนอกจากอากาศจะร้อนแล้ว บรรยากาศก็เร่าร้อนไม่แพ้กัน
“โขล โท” หรือ “เปิดมันออก”เป็นเรื่องสั้นที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานของมันโตที่มีผู้อ่านกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ในปีที่เรื่องสั้นเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ มันได้ชื่อว่าเป็นเรื่องสั้นที่ฉาวโฉ่เรื่องหนึ่งของยุคสมัย ไม่ใช่เพียงแค่ด้วยโครงเรื่องหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวละครเท่านั้น แต่ประเด็นที่เรื่องสั้นเรื่องนี้ทำให้ทางการไม่พอใจก็คือการนำเสนอว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูและชาวมุสลิม หรือระหว่างชาวฮินดูสถานและชาวปากีสถาน แต่มันคือความรุนแรงที่เกิดจากสันดานดิบและความป่าเถื่อนที่ซุกซ่อนอยู่ในกายของมนุษย์
โครงการก่อสร้างมหานครขนาดใหญ่แห่งใหม่ในบริเวณท่าเรือโคลัมโบ (Colombo Port City) จะทำให้ประเทศศรีลังกากลายเป็นประตูสู่ศูนย์กลางทางการเงินใหม่ของโลก แต่การลงทุนครั้งนี้อาจตามมาด้วยหนี้จำนวนเงินมหาศาลเช่นกัน น่าสนใจว่าผลประโยชน์ที่ศรีลังกาจะได้รับนั้นคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่
ไซตูน บาโน สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งวงการวรรณกรรมภาษาปัชโต ผู้เป็นแรงขับเคลื่อนสิทธิสตรีผ่านงานวรรณกรรมเกี่ยวกับการศึกษาและความเข้าใจสังคมปากีสถาน โดยเฉพาะเรื่องราวของสตรีในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตนเอง
“ปากีสถานบรรลุข้อตกลง TTP หยุดยิงเป็นเวลา 1 เดือน” เส้นทางสู่สันติภาพในปากีสถานอาจกำลังเริ่มต้นขึ้น เมื่อรัฐบาลอิมราน ข่าน สามารถบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่ม TTP ได้ ซึ่งอาจพลิกสถานการณ์ปากีสถานให้ดีขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง