People's Republic of Bangladesh
Data & Information
GENERAL INFORMATION
ที่ตั้ง บังกลาเทศตั้งอยู่บริเวณทางตะวันออกของอนุทวีปเอเชียใต้ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และตะวันตกติดกับประเทศอินเดีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเมียนมา และทิศใต้ติดกับอ่าวเบงกอล
เมืองหลวง กรุงธากา (Dhaka)
ภูมิอากาศ บังกลาเทศมีภูมิอากาศร้อนและร้อนชื้น โดยเฉพาะทางตอนเหนือ ในขณะที่ช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ และมีฝนตกมากในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
ประชากร 126 ล้านคน
ภาษา ภาษาเบงกาลี (Bengali) เป็น ภาษาราชการ และนิยมใช้ภาษาอังกฤษนิยมในภาคการศึกษาและธุรกิจ
ศาสนา ศาสนาอิสลามร้อยละ 89.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ 9.1 ศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 0.7
เชื้อชาติ เบงกาลี (Bengali) ร้อยละ 98 กลุ่มชนพื้นเมืองอื่นๆ
ร้อยละ 1.1
GENERAL INFORMATION
สกุลเงิน ตากา (Taka/BDT)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท = 2.62 ตากา
การขอวีซ่า ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางประเทศไทยสามารถดำเนินการขอวีซ่าได้ที่สถานเอกอัครราชทูตบังกลาเทศ โดยระยะเวลาการพำนักในประเทศจะพิจารณาตามประเภทของการขอวีซ่า ได้แก่ วีซ่านักท่องเที่ยว วีซ่าธุรกิจ วีซ่านักเรียน วีซ่าการจ้างงาน วีซ่าทูต/ทางการ วีซ่านักลงทุน วีซ่านักข่าว วีซ่า NGO
วันสำคัญ วันชาติ 26 มีนาคม (ประกาศแยกตัวจากปากีสถานตะวันตกเมื่อปี 2514)
ระบอบการเมือง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประธานาธิบดี อับดุล ฮามิด (Abdul Hamid)
นายกรัฐมนตรี ชีค ฮาซินา (Sheikh Hasina)
อุตสาหกรรมหลัก ปอกระเจา ฝ้าย สิ่งทอ กระดาษ หนัง ยาสูบ เวชภัณฑ์ ชา เกลือ น้ำตาล น้ำมันพืช สบู่และผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ
สินค้านำเข้า ผ้าฝ้าย เครื่องจักรกลและชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า สินค้าอุปโภค
สินค้าส่งออก เสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าถัก สินค้าเกษตร ปลาและอาหารทะเลแช่แข็ง ปอและผลิตภัณฑ์จากปอ และเครื่องหนัง
นำเข้าสินค้าจาก จีน อินเดีย และสิงคโปร์
ส่งออกสินค้าไป เยอรมนี สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร สเปน ฝรั่งเศส และอิตาลี
GDP 7.1 (2019)
HISTORY
ก่อนจะก่อตั้งเป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน ดินแดนแถบนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป อนุทวีปที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ และศาสนา โดยแรกเริ่มศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ได้เข้ามาอิทธิพลก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ จนกลายเป็นศาสนาหลักของประเทศมาจนถึงทุกวันนี้
ดินแดนแถบชมพูทวีปตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2300 และได้รับเอกราชเมื่อปี 2490 แต่ขณะนั้นบังกลาเทศยังเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน เรียกว่า ปากีสถานตะวันออก ต่อมาชาวเบงกาลีในปากีสถานตะวันออกไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง ประกอบกับมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และเชื้อชาติ ชาวเบงกาลีจึงจัดตั้งพรรคสันนิบาตอวามี (Awami League-AL) ขึ้นเมื่อปี 2492 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวเบงกาลี โดยมีชีค มูญีบุรฺเราะฮฺมาน เป็นหัวหน้าพรรค
เมื่อปากีสถานตะวันออกประกาศแยกตัวจากปากีสถานตะวันตก ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างปากีสถานตะวันออกกับตะวันตก โดยอินเดียส่งทหารเข้าไปช่วยปากีสถานตะวันออก จนปากีสถานตะวันออกสามารถแยกตัวเป็นเอกราช และจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศเมื่อ 26 มีนาคม 2514 โดยมีชีค มูญีบุรฺเราะฮฺมาน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของบังกลาเทศ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งชาติบังกลาเทศ (Father of the Nation) วันชาติจึงตรงกับวันที่ 26 มีนาคม ของทุกปี
CULTURE
ประชาชนในบังกลาเทศแม้ว่าจะนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็อยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยมีรากฐานมาจากอิทธิพลของศาสนาในแต่ละยุคแต่ละสมัย ในบังกลาเทศมีศาสนาหลักๆ คือ อิสลาม พุทธ ฮินดู เป็นกลุ่มศาสนาที่มีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมบังกลาเทศ แม้กระทั่งวันสำคัญของแต่ละศาสนาบังกลาเทศกำหนดให้เป็นหยุดราชการ อาทิ วันตรุษอิสลาม วันประสูติของพระพุทธเจ้า วันคล้ายวันประสูติของพระกฤษณะ เพื่อให้ความสำคัญตามวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของทุกศาสนาในบังกลาเทศ
ส่วนเอกลักษณ์การแต่งกายของชาวบังกลาเทศ คือ ชายทั่วไปของบังกลาเทศมักจะสวมใส่ผ้าโสร่ง แต่สำหรับผู้ที่ทำงานราชการ หรือในออฟฟิศจะใส่สูท ส่วนสตรีจะใส่สาหรี่ สำหรับหญิงวัยรุ่นมักจะใส่ชุดซาลวาร์ กามีซ (salwar kameez)
Tourist Attractions
คอกส์บาซาร์ (Cox’s Bazar)
ธากา (Dhaka)
ศรีมัลกัลป์ (Srimangal)
จิตตะกอง (Chattogram)
ซุนดาบันส์ (Sundarbans)
FOOD
บรียานี (Biryani)
ข้าวหมกกับเครื่องเทศชนิดต่างๆ และเนื้อสัตว์ เช่น ปลา เนื้อแพะ แกะ ไก่ และเนื้อวัว นิยมรับประทานเป็นอาหารหลัก
แกงกะหรี่ ชิงกรี มาไล (Chingri Malai Curry)
แกงกะหรี่ของบังกลาเทศ มีส่วนผสมของกะทิและพริกแกงต่างๆ เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่จะใช้กุ้งเป็นหลัก
ดาล (Dal/Daal/Dhal)
แกงถั่ว เปรียบเสมือนอาหารหลักของชาวบังกลาเทศ นิยมรับประทานร่วมกับ นาน โรตี ขนมปัง และข้าว
ปาธ่า บัท (Panta Bhat)
ปาธ่า บัท คล้ายเมนูข้าวแช่ของไทย โดยทั่วไปจะใช้ข้าวเหลือที่แช่ในน้ำข้ามคืนเพื่อหมัก พร้อมเครื่องเคียง เช่น ปลา แกงถั่ว เกลือ พริก และหัวหอม ปาธ่า บัท ถือเป็นอาหารยอดนิยมของบังกลาเทศ มีทั่วทุกภูมิภาคของเบงกอล
บาราธ่า (Paratha)
นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า ทำจากแป้งสาลี มีลักษณะเหมือนโรตีทอดกับเนย ใส่ไส้มันบดที่ผสมกับเครื่องเทศและผักต่างๆ
POLITICS
บังกลาเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 8 เขต คือ ขุลนา จิตตะกอง ธากา บอริชาล ไมมันสิงห์ รังปุระ ราชชาฮี และสิเลฏ
ฝ่ายบริหาร
ฝ่ายนิติบัญญติ
ฝ่ายตุลาการ
บังกลาเทศใช้ระบบศาลแบบสหราชอาณาจักร มีทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา โดยศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุด ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Appellate Division และ High Court Division และศาลระดับล่าง ได้แก่ District Courts Thana Courts และ Village Courts นอกจากนี้ ยังมีศาลพิเศษอื่นๆ เช่น ศาลครอบครัว ศาลแรงงาน
พรรคการเมือง
พรรคสันนิบาตอวามี (Awami League-AL) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ นายกรัฐมนตรีชีค ฮาซินา
พรรคชาตินิยมบังกลาเทศ (Bangladesh National Party-BNP) ปัจจุบันเป็นฝ่ายค้าน นำโดยนางคาเลดา เซีย
พรรค Jama’at-e-Islami-JI ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเคร่งจารีต
พรรคสันนิบาตอวามี และ พรรคชาตินิยมบังกลาเทศ ผลัดกันเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้านมาตลอด เมื่อฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้านก็พยายามชุมนุมประท้วงโค่นล้มรัฐบาล ส่งผลกระทบทำให้นโยบายของชาติขาดความต่อเนื่องทางด้านการพัฒนาประเทศและขาดเสถียรภาพทางการเมือง
ECONOMY
บังกลาเทศที่เคยมองว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความยากจนมากที่สุดในโลก แม้ว่าปัจจุบันปัญหาความยากจนจะเบาบางลงแล้ว ในปี 2534 บังกลาเทศมีผู้ยากจนร้อยละ 44 แต่ในปี 2560 มีผู้ยากจนลดน้อยลง และการเติบโตของ GDP มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้บังกลาเทศ ขยับสถานะประเทศขึ้นมาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางในปี 2558 และในปี 2561 เหลือเพียงแค่ร้อยละ 15 เท่านั้น ด้วยสัดส่วนประชากร 160 ล้านคน จึงเป็นความท้าทายที่สำคัญในการจัดการกับระบบเศรษฐกิจ
บังกลาเทศสามารถพัฒนาประเทศโดยผ่านหลักเกณฑ์การปฏิบัติตามตามคุณสมบัติทั้ง 3 ประการ คือ 1) รายได้ประชากรต่อหัวเพิ่มขึ้น 2) ดัชนีชี้วัดทุนมนุษย์มากขึ้น และ 3) ดัชนีประเมินความเปราะบางทางเศรษฐกิจดีขึ้น ติดต่อกัน 3 ปี ทำให้บังกลาเทศหลุดจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (least developed countries) ตามเงื่อนไขของสหประชาชาติ เนื่องจากบังกลาเทศมีข้อจำกัดหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแออัด ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน และมลพิษ ส่งผลให้ปัจจัยการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของบังกลาเทศยังคงต้องอาศัยปัจจัยด้านพลังงาน คมนาคม และการเติบโตของชุมชนเมือง การวางแผน การลงทุน และการเตรียมความพร้อม ดังนั้น รัฐบาลบังกลาเทศจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่น โดยเน้นเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขยายฐานการลงทุนให้ทั่วถึง สนับสนุนแรงงานสตรีเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม เพื่อช่วยให้ภาคการผลิตใหม่สามารถพัฒนาและสร้างแรงงานใหม่ๆ ก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น และมีการจ้างงานอย่างมีคุณภาพ
ธนาคารโลกมีข้อคิดเห็นว่า บังกลาเทศจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการสร้างงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แก้ไขปัญหาลักษณะงานที่ไม่ตรงต่อความต้องการ และจัดการปัญหากับการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเน้นการพัฒนาและการลงทุนด้วยการใช้เงินลงทุนต่ำ สามารถใช้งบประมาณตามกำลังของของประเทศ เน้นภาคการลงทุน แก้ไขปัญหาการคมนาคม ปรับเปลี่ยนข้อจำกัดทางธุรกิจที่ไม่แน่นอนและซับซ้อน โดย
แหล่งรายได้หลักของประเทศ
บังกลาเทศพึ่งพาเศรษฐกิจหลัก 3 ภาค ได้แก่ ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป (คิดเป็น 80% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) ภาคบริการและแรงงานในต่างประเทศ เศรษฐกิจบังกลาเทศเป็นระบบเศรษฐกิจการตลาด ให้ความสำคัญเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนในลำดับต้นๆ รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออก บังกลาเทศคาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นสู่ระดับประเทศ middle income ในปี 2563
จุดแข็งในโครงสร้างเศรษฐกิจของบังกลาเทศ คือ แรงงานและทรัพยากรธรรมชาติ มีราคาถูก ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย
DIPLOMATIC RELATIONS BETWEEN THAILAND
ไทยกับบังกลาเทศสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเมื่อ 5 ต.ค.2515 และมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ในกรอบความร่วมมือภูมิภาคและในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ UN, ACD, ARF, ASEM โดยไทยให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่บังกลาเทศตลอดมา บังกลาเทศสนใจจะยกระดับเป็นประเทศคู่เจรจาอาเซียน และเข้าร่วม East-West Economic Corridor และความร่วมมือแม่โขง-คงคา (Mekong-Ganges Cooperation) บังกลาเทศให้ความสำคัญกับไทย ในฐานะประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้บังกลาเทศเป็นมิตรประเทศในเอเชียใต้ที่ให้การสนับสนุนไทยในเวทีองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation-OIC) ด้วยดีเสมอมา และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการแก้ไขปัญหาโรฮิงญา
ปริมาณการค้าไทย-บังกลาเทศยังอยู่ในระดับต่ำแต่มีแนวโน้มว่านักธุรกิจไทยและบังกลาเทศให้ความสนใจที่จะทำธุรกิจร่วมกันมากขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองฝ่ายสนับสนุนให้มีการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อขยายการค้า และการลงทุนระหว่างกัน บังกลาเทศเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 6 % ต่อปี มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปอกระเจา ฝ้าย ชา ปัจจุบันบังกลาเทศเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ รองจากอินเดียและปากีสถาน โดยในปี 2560 การค้ารวมมีมูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 1,256 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 33% มีสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ข้าว เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติก ปูนซีเมนต์ ผ้าผืนเครื่องสำอาง เป็นต้น ส่วนไทยนำเข้าจากบังกลาเทศมูลค่า 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ
ข้อตกลงสำคัญระหว่างไทยกับบังกลาเทศ
– ความตกลงทางการค้าปี 2520
– ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการประมงปี 2521
– ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมการศึกษาและ
วิทยาศาสตร์ปี 2522
– ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนปี 2540
– ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนปี 2545
– บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสภาธุรกิจร่วมไทย-บังกลาเทศปี 2545
– บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการเกษตรปี 2555
– การจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีระหว่างกระทรงการต่างประเทศของไทยกับบังกลาเทศในปี 2555
References
– https://www.officeholidays.com/countries/bangladesh/2019
– https://www.plan-travel.com/visa/Bangladesh.html
– https://www.thecrazytourist.com/15-best-places-visit-bangladesh
– https://www.worldatlas.com/articles/important-aspects-of-the-culture-of-bangladesh.html
– https://www.worldbank.org/en/country/bangladesh
– https://www.worldometers.info/world-population/bangladesh-population/
– ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ 2562 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
– https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/bg.html
Photo credit :
– people walking on street during daytime Photo by Niloy Biswas on Unsplash
– woman in gold and silver earrings Photo by Nafis Al Sadnan on Unsplash
– Trishaw operators waiting for customers in Dhaka. Photo by Adli Wahid on Unsplash
– Boat Bangladesh Photo by Shomitro Kumar Ghosh on Unsplash
– Bangladesh Parliament Image by Pexels from Pixabay
– beige concrete structure near grass field, Uddin Rd, Dhaka, Bangladesh Photo by Tanvir Islam
on Unsplash
– The Great White Egret in Sundarbans Photo by Mamun Srizon on Unsplash
– Bangladesh Tea Garden Image by khurshid alam from Pixabay
– Curzon Hall University Of Dhaka Image by Md Jannatul Islam Jisan from Pixabay
– A foggy winter morning of fisherman on the Sangu river. Photo by Rashed Kabir on Unsplash
– Kacchi Biryani (Bangladeshi Style) Recipe by Food Fusion on https://www.foodfusion.com/recipe/
kacchi-biryani-bangladeshi-style/
– Chingri Malai Curry by Scratching Canvas on http://www.scratchingcanvas.com/bengali-golda-chingri-
macher-malaikari-recipe/
– Tarka Dhal by Slimming Eats on http://www.slimmingeats.com/blog/instant-pot-tarka-dhal-tadka-dal
– Panta Bhat by Plates of Joy on https://platesofjoy.wordpress.com/2019/07/24/3-summer-of-joy-
panta-bhat/#jp-carousel-439
– Crispy Parata/Paratha by Bangla, Bangladeshi & Bengali Food Recipes
on https://zuranazrecipe.com/crispy-parata-paratha/