โดย จตุพร สุวรรณสุขุม
นักวิจัยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เผยแพร่ครั้งแรกที่ MAPPING EXTREMISM IN SOUTH ASIA วันที่ 1 เมษายน 2562
https://xstremarea.home.blog/2019/04/01/fake-news-in-india-2/
จากสถานการณ์ปัญหาข่าวปลอมที่กระจายตัว และสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวาง ดังที่กล่าวไปในสูตรสำเร็จข่าวปลอมในอินเดีย (ตอนที่ 1) รัฐบาลอินเดียได้ใช้โอกาสนี้เข้าแทรกแซงเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความยุติธรรมในการใช้อำนาจดังกล่าว ดังกรณีการระงับบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นกับแกนนำขั้วตรงข้ามของรัฐบาล หรือนักข่าวที่มักจะมีการนำเสนอข่าวหรือข้อความที่สวนทางกับรัฐบาล จนเกิดเป็นคำถามว่ารัฐบาลจะทำลายปีศาจตัวเดิมโดยการสร้างปีศาจตัวใหม่ขึ้นมาเองหรือไม่
การเซ็นเซอร์เว็บไซต์และบัญชีสื่อสังคมออนไลน์
Facebook กล่าวว่า “เนื้อหาส่วนใหญ่ที่ถูก จำกัด ถูกกล่าวหาว่าเป็นการละเมิดกฎหมายในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทศาสนาและคำพูดแสดงความเกลียดชัง” แต่นี่คือข้อมูลของบุคคลที่ถูกระงับการให้บริการดังต่อไปนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2017 Facebook บล็อกบัญชีของนักข่าวมูฮัมหมัดอนัสเป็นเวลา 30 วันหลังจากที่เขาแชร์ภาพธนบัตรกับข้อความว่า “เป็นความผิดพลาดในการลงคะแนนให้กับดอกบัว” (สัญลักษณ์ของ BJP) ข้อความนี้ได้รับความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและถือเป็นการต่อต้านรัฐบาล ต่อมา Facebook ระงับบัญชีของนักออกแบบกราฟิกและผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดี Gautam Benegal ในเดือนกันยายนหลังจากที่เขาแชร์โพสต์ของคนอื่นซึ่งมีชื่อว่า “วิธีการระบุ Hindutva (อุดมการณ์ด้านขวาสุดฮินดู)” โพสต์วิจารณ์การโปรโมทพรรคBJP ของศาสนาฮินดูสุดโต่ง
ส่วน Twitter ยังยอมรับว่าได้รับคำขอจากรัฐบาลจำนวนมากที่ขอให้บล็อกบัญชีและทวีตที่มีอยู่กว่า 100 บัญชีที่พบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของบัญชีเหล่านี้เป็นนักข่าว นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและบุคคลที่วิจารณ์และมีความเห็นไปในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกับรัฐบาล
การจัดการสื่อภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี Narendra Modi
รัฐบาลภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี Narendra Modi คณะรัฐมนตรีของอินเดียมีการใช้งานโซเชียลมีเดียเพื่อทวีตนโยบายใหม่และโต้ตอบกับประชาชน แต่การกระทำแบบนี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลของ Modi ต้องการเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่ทรงพลังกว่าเก่าเพื่อกำหนดรูปแบบการเล่าเรื่องในเชิงบวกเกี่ยวกับอินเดียและสนับสนุนลัทธิชาตินิยมในหมู่ประชาชนในการนำไปสู่การเลือกตั้งระดับรัฐและระดับชาติ
การเซ็นเซอร์ช่องทางการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของอินเดียดำเนินการผ่านพระราชบัญญัติเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITA) ปี พ.ศ. 2543 มาตรา 69A ที่ระบุว่า “รัฐมีอำนาจในการออกแนวทางในการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลใด ๆ จากประชาชนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ภายใต้กฎหมายที่รัฐบาลสามารถตรวจสอบ Internet ได้ ประเด็นนี้จึงถูกนำมาเป็นวาทกรรมเพื่ออ้างความชอบธรรมในการรักษาอธิปไตยและความสงบของรัฐบาลอินเดีย รวมถึงเป็นข้ออ้างในการป้องกันประเทศอินเดีย การรักษาความปลอดภัยของรัฐ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศหรือแม้กระทั่งเพื่อสาธารณะ” ภายใต้การแก้ไขพระราชบัญญัติ ITA ในปี 2554 ทำให้บริษัทอินเทอร์เน็ตต้องนำเนื้อหาที่ถือว่า “ไม่เหมาะสม” มาแสดงต่อหน่วยงานของรัฐภายใน 36 ชั่วโมงหลังจากได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ เจ้าของอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ต้องถ่ายรูปลูกค้า เก็บสำเนารหัสประจำตัวลูกค้าและประวัติการเข้าใช้บริการเป็นเวลาหนึ่งปีและส่งต่อข้อมูลนี้ต่อรัฐบาลทุกๆ เดือน
รัฐบาลอินเดียมักระงับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนในส่วนต่างๆของประเทศด้วย ตามรายงานของ internetshutdown.in ซึ่งติดตามการตัดสัญญาณการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจำนวน 70 ครั้งในปีที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าสองเท่าจากปี 2016 โดยรัฐชัมมูและแคชเมียร์เป็นรัฐที่มีจำนวนการปิดระบบที่มากที่สุด มาตรการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการริดรอนสิทธิทางประชาธิปไตยที่ว่าด้วยอิสระทางการพูดและการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีที่ประชาชนสมควรจะได้รับ คงต้องติดตามดูว่าการสร้างเครื่องมือเพื่อควบคุมการแสดงความคิดเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์ของรัฐบาลอินเดียจะเป็นปัจจัยกระตุ้น หรือระงับความรุนแรงของบรรดาข่าวปลอมที่เกิดขึ้น แต่ผลลัพธ์ที่แสดงชัดเจนแน่ๆคือ มีการใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อตัดตอนความเห็นต่างทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ในระยะยาวคงต้องพิจารณาถึงเหตุปัจจัยอื่นๆ เช่น หากไม่มีการใส่ชนวนความขัดแย้งทางศาสนา หรือสร้างความได้เปรียบทางการเมือง เครื่องมือการควบคุมความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ของรัฐบาลอินเดีย อาจช่วยบรรเทาความรุนแรงของปัญหาข่าวปลอมลงได้บ้าง
References
– https://timesofindia.indiatimes.com/india/National-communication-and-information-policy-on-anvil/articleshow/55917899.cms 26/4/2561
– http://socialsciences.in/article/media-policy-and-governance 26/4/2561
– https://thewire.in/media/smriti-irani-reveals-modi-government-plan-to-monitor-regulate-online-news 26/4/2561
– Economic Policy of Liberalization in India: 7 Elements http://www.yourarticlelibrary.com/india-2/liberalization/economic-policy-of-liberalization-in-india-7-elements/69403 27/4/61
– MEDIA POLICY AND GOVERNANCE http://socialsciences.in/article/media-policy-and-governance 27/4/61
– SASHWATI BANERJEE https://www.dailyo.in/politics/digital-india-narendra-modi-education-
– Alisha Sachdev https://thediplomat.com/2018/04/how-fake-news-spreads-in-india/ 10/5/61
– Pradeep Ramanayake https://www.wsws.org/en/articles/2018/03/08/cens-m08.html 10/5/61
– https://scroll.in/article/694031/modi-government-does-another-flip-flop-this-time-it-defends-internet-censorship
Photo credit :
– https://daily.social/you-would-not-be-surprised-to-know-these-10-embarrassing-lists-that-india-tops/
– https://scroll.in/article/694031/modi-government-does-another-flip-flop-this-time-it-defends-internet-censorship