ภูมิภาคเอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากที่สุดในโลกสถานการณ์การแผ่กระจายเชื้อโควิด 19 ทำให้แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้กำลังเผชิญกับอุปสรรคทั้งในแง่ของการใช้มาตรการป้องกันการแพร่กระจายและผลกระทบทางเศรษฐกิจครั้งใหม่
โควิด-19
ในช่วงเวลาที่เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลและระมัดระวังไม่ให้ตนเองหรือผู้อื่นเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามคำแนะนำของสาธารณะสุขแล้ว การดูแลสุขภาพของตนเองตามวิถีอายุรเวทก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและดูแลให้ร่างกายของเราแข็งแรงได้
อาจกล่าวได้ว่าอินเดีย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่อาจจะมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในโลก สำหรับประเทศที่มีประชากรมากกว่า 1.35 พันล้านคน แต่ ณ วันที่ 10 เมษายน 2020 อินเดียมีผู้ติดเชื้อเพียง 6,725 ราย เสียชีวิต 229 ราย ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรระดับมากกว่า 1 พันล้านคน และแน่นอนว่านี่ถือเป็นการลบคำสบประมาทของหลายๆ คนที่มักจะเข้าใจว่าอินเดียคือประเทศยากจน ล้าหลัง และด้อยพัฒนา
เมื่อไวรัส COVID-19 ระบาด ส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และยังไม่มีทีท่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงไป นั่นทำให้อย่างน้อยครึ่งแรกของปี 2020 นี้ จำนวนนักท่องเที่ยวจะลดจำนวนลงอย่างมีนัยสำคัญแน่นอน เราจะต้องรับมือกับผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นกับภาคการท่องเที่ยวอย่างไร
องค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) คือความร่วมมือระหว่าง 8 ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียใต้ ถึงแม้ความร่วมมือระหว่างประเทศจะมีลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ทำให้รัฐบาลอินเดียส่งคำเชิญไปยังประเทศสมาชิกในกลุ่ม SAARC ทุกประเทศ เพื่อให้ผู้นำของทั้ง 8 ประเทศมาร่วมประชุมร่วมกันผ่านระบบทางไกล (VDO Conference) ครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่ผู้นำของกลุ่ม SAARC ได้มาพบปะร่วมกัน