![](https://southasiainsight.com/wp-content/uploads/2020/07/triangle-extremism3.png)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
คณะนิเทศศาสตร์ และ ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เผยแพร่ครั้งแรกที่ MAPPING EXTREMISM IN SOUTH ASIA วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562
https://xstremarea.home.blog/2019/04/05/extremismidentity/
อัตลักษณ์ทางเชื้อชาติศาสนา อัตลักษณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และอัตลักษณ์ทางฆราวาสนิยม
อะไรคือแรงกระตุ้นที่ทำให้คนหรือสังคมหนึ่งๆ มีใจโน้มเอียงไปทางแนวคิดสุดโต่ง?
จากอุดมการณ์ทางศาสนาและการเมือง (Political and Religious Ideologies) จากการได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (Grievances) จากความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษกิจ (Economic Deprivation and Inequality) จากการกดขี่โดยรัฐ (State Repression) จากการไร้หนทางในการเข้าถึงกระบวนการทางการเมือง (Lack of Access to Political Institution) หรือจากการถูกปลุกปั่นโดยชนชั้นนำ (Elite Manipulation) เหล่านี้คือคำอธิบายที่เรามักจะยินกันอยู่บ่อยครั้งและก็ยังคงเป็นคำอธิบายที่ฟังขึ้นอยู่ หากข้อจำกัดของคำอธิบายตามข้างต้นก็คือ การมองการก่อตัวของแนวคิดสุดโต่งอย่างหยุดนิ่งว่าเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นใดเพียงแรงกระตุ้นหนึ่ง รวมทั้งการโยนความรับผิดชอบไปให้แก่ปัจเจกบุคคลว่าเป็นผู้ตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกที่จะคล้อยตามแนวคิดสุดโต่งด้วยตนเอง
![](https://southasiainsight.com/wp-content/uploads/2020/07/id2.png)
Deepa Ollapally (2008) มองว่าในความเป็นจริงนั้น การก่อตัวของแนวคิดสุดโต่ง ทั้งในระดับปัจเจกและในระดับโครงสร้างสังคม ยังเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นเชิงวัฒนธรรมและการเมืองที่เคลื่อนไหวและต่อสู้กันตลอดเวลา แรงกระตุ้นดังกล่าวก็คือ การต่อรองเชิงอัตลักษณ์สามเส้า อันประกอบด้วย อัตลักษณ์ทางเชื้อชาติศาสนา (Ethno-religious Identity) หรือ ความเชื่อมโยงทางสายเลือดและความเชื่อ อัตลักษณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-political Identity) หรือ ความรู้สึกผูกพันกับประเทศและดินแดน และอัตลักษณ์ทางฆราวาสนิยม (Secular Identity) หรือ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและมนุษยชาติ ที่ไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติศาสนาหรือภูมิรัฐศาสตร์ [1]
ในภาวะสมดุล อัตลักษณ์ทั้งสามเส้าจะค่อนข้างมีความยืดหยุ่น โดยส่งแรงคัดคานหรือการประนีประนอมกันช่วยให้ไม่มีอัตลักษณ์ใดมีพลังเหนืออัตลักษณ์อื่นในภาวะสุดโต่ง อัตลักษณ์ของสังคมหรือของปัจเจกด้านใดด้านหนึ่งจะแข็งตัวเกินไป จนกระทั่งไม่สามารถประนีประนอมหรือผสานกับอัตลักษณ์อื่น ส่งผลให้เกิดแรงดึงดูดหรือแรงผลักให้เกิดความโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่งอย่างสุดโต่ง
เรื่องเล่าของบูรฮาน วานี และเรื่องเล่าของชามิน่า เบกุม อาจจะเกิดขึ้นต่างพื้นที่ ต่างบริบท และต่างวาระกัน แต่ก็เปิดเผยให้เห็นถึงการต่อรองของแรงกระตุ้นเชิงอัตลักษณ์สามเส้าที่มีพลังดึงดูดหรือผลักดันให้คนหรือสังคมหนึ่งหนึ่งมีโน้มเอียงไปทางแนวคิดสุดโต่ง อีกทั้งยังช่วยให้เราเห็นบทบาทของสื่อสมัยใหม่ที่มีความสามารถเผยแพร่ความคิดและเชื่อมโยงคนหนุ่มสาวที่อยู่ต่างพื้นที่กันให้เข้ามาร่วมเครือข่ายของขบวนการทางสังคมที่มีแนวคิดสุดโต่ง เช่นเดียวกับอัตลักษณ์ของคน แนวคิดสุดโต่งนั้นเป็น ผลพวงจากการต่อรองของแรงกระตุ้นที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อนในหลายระดับ จนไม่อาจที่จะยกให้เป็น ความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคลหรือแรงกระตุ้นใด แรงกระตุ้นเดียวได้ทั้งหมด [2]
เรื่องเล่าของบูรฮาน วานี
บูรฮาน วานีเติบโตมาในครอบครัวจามัท-อี-อิสลามี (Jamaat-e-Islami) ที่เชื่อในการปฏิรูปสังคมด้วยหลักปรัชญาอิสลามและการเรียกร้องสิทธิและเอกราชของแคชมีร์ผ่านกลไกทางการเมืองของอินเดีย ครอบครัวของเขาถือว่าเป็นครอบครัวมีการศึกษาและร่ำรวยของแคชมีร์ครอบครัวหนึ่ง บิดาของเขาเป็นครูใหญ่ในโรงเรียนประจำท้องถิ่น ส่วนมารดาก็จบการศึกษามาทางด้านวิทยาศาสตร์และเป็นครูสอนพระคัมภีร์กุรอานให้กับเด็กๆ ในหมู่บ้าน บูรฮานเป็นเด็กเรียนดีคนหนึ่งและก็คงจะได้เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยสักแห่ง หากเขาไม่ได้ออกไปขี่รถจักรยานยนตร์เล่นในวันหนึ่งของฤดูร้อนเมื่อปี พ.ศ. 2553
![](https://southasiainsight.com/wp-content/uploads/2020/07/gettyimages-578053034-594x594-1.jpg)
เพื่อชาติ ศาสนา และแคชมีร์
แต่ไหนแต่ไรมา ทั้งอินเดียและปากีสถานต่างก็อ้างสิทธิของตนเหนือแคชมีร์ ต่างฝ่ายต่างก็ใช้การต่อสู้เชิงอัตลักษณ์ในการดึงแคชมีร์ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในภูมิรัฐศาสตร์ของตน
แคชมีร์นั้นเป็นดินแดนที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นประชากรส่วนมากแต่ผู้ที่กุมอำนาจทางการ เมืองและเศรษฐกิจกลับเป็นประชากรส่วนน้อยที่ นับถือศาสนาซิกข์และศาสนาฮินดู แรกเริ่มเดิมที เมื่ออังกฤษตัดสินใจที่จะถอนตัวจากอนุทวีป ผู้นำของแคชมีร์ประสงค์ที่จะเป็นรัฐฆราวาสอิสระ โดยไม่ขึ้นกับอินเดียหรือปากีสถาน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความรุนแรงและสงครามอัตลักษณ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวฮินดูในช่วงของการแบ่งแยกประเทศอินเดียและปากีสถานก็ทำให้ชาวแคชมีร์ซิกข์และชาวแคชมีร์ฮินดูไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตนหากแคชมีร์จะเป็นรัฐอิสระ ความไม่มั่นใจดังกล่าวเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้มหาราชาแห่งแคชมีร์ยอมลงนามผนวกดินแดนให้เป็นส่วนหนึ่งของอินเดียเป็นการชั่วคราว ด้วยอัตลักษณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่แคชมีร์เป็นส่วนหนึ่งของอินเดียนั้นจะทำให้แคชมีร์ดำรงความเป็นรัฐฆราวาสนิยมและจะได้รับการสนับสนุนทางการทหารจากอินเดียหากมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น นอกเหนือไปจากที่จะทำให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามกลายเป็นประชากรส่วนน้อยในประเทศ
ด้านปากีสถานนั้นก็ใช้อัตลักษณ์ความเป็นภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) กระตุ้นให้ชาวแคชมีร์มุสลิมกลุ่มหนึ่งให้ลุกขึ้นมาต่อต้านการตัดสินใจดังกล่าว กระทั่งสามารถแยกดินแดนส่วนหนึ่งออกมาเป็นจังหวัดอาซาดแคชมีร์ (Azad Kashmir) ของปากีสถานได้สำเร็จ นอกจากนี้แล้วเป็นที่รับรู้ว่ารัฐบาลปากีสถานก็ยังได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชของแคชมีร์กลุ่มต่างๆ มาตลอด [5] ทั้งกลุ่มมุสลิมที่เคลื่อนไหวทางการเมืองที่โน้มเอียงมาทางปากีสถานอย่างกลุ่มจามัทอีอิสลามี กลุ่มฆราวาสนิยมที่เรียกร้องเอกราชของแคชมีร์อย่างสมัชชาแห่งชาติชัมมูและแคชมีร์ (Jammu & Kashmir National Conference – JKNC) กลุ่มชาตินิยมแคชมีร์ที่ใช้ความรุนแรงอย่างกองกำลังปลดปล่อยชัมมูและแคชมีร์ (Jammu and Kashmir Liberation Front – JKLF) หรือกองกำลังที่แตกแยกย่อยออกมาในภายหลัง ทั้งนี้เชื่อกันว่า กลุ่มฮิซบัลมูจาฮิดีนที่บูรฮาน วานีเป็นสมาชิกนั้นก็ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากหน่วยข่าวกรองของปากีสถาน (Inter-Services Intelligence – ISI) [6]
การต่อสู่เชิงอัตลักษณ์ในแคชมีร์
แต่ไหนแต่ไรมา ทั้งอินเดียและปากีสถานต่างก็อ้างสิทธิของตนเหนือแคชมีร์ ต่างฝ่ายต่างก็ใช้การต่อสู้เชิงอัตลักษณ์ในการดึงแคชมีร์ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในภูมิรัฐศาสตร์ของตน
แคชมีร์นั้นเป็นดินแดนที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นประชากรส่วนมากแต่ผู้ที่กุมอำนาจทางการ เมืองและเศรษฐกิจกลับเป็นประชากรส่วนน้อยที่ นับถือศาสนาซิกข์และศาสนาฮินดู แรกเริ่มเดิมที เมื่ออังกฤษตัดสินใจที่จะถอนตัวจากอนุทวีป ผู้นำของแคชมีร์ประสงค์ที่จะเป็นรัฐฆราวาสอิสระ โดยไม่ขึ้นกับอินเดียหรือปากีสถาน
แต่ขณะเดียวกันก็ใช้อัตลักษณ์ทางเชื้อชาติศาสนามาเป็นแรงกระตุ้นเพื่อหลอมรวมผู้คนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ชัยชนะของแนวร่วมอิสลามแห่งอัฟกานิสถานมุจญาฮิดีนในสงครามครั้งนั้น มีผลส่งให้อัตลักษณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์และอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติศาสนาในเอเชียใต้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน การเกิดขึ้นของกองกำลังกลุ่มต่างๆ ในแคชมีร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ทั้งกลุ่ม Jaish-e-Mohammad (JeM) กลุ่ม Lashkar-e-Taiba กลุ่ม Harkat-ul-Jihad-e-Islami กลุ่ม al-Badr หรือกลุ่มฮิซบัลมุจญาฮิดีนจาฮิดีน ล้วนสัมพันธ์กับการขยายอิทธิพลของกลุ่มมุจญาฮิดีนในอัฟกานิสถานและปากีสถาน
การต่อสู้เพื่อเอกราชของแคชมีร์จึงผูกโยงกับ การฟื้นฟูคาลิฟาและรัฐอิสลามมากกว่าแคชมีร์ ในฐานะรัฐชาติที่แตกต่างจากอินเดียและปากีสถาน
เมื่อวิถีการเมืองของกลุ่มจามัท-อี-อิสลามีไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่จะมอบอธิปไตยให้กับแคชมีร์ได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่บูรฮาน วานีจะเข้าร่วมกับกองกำลังฮิซบัลมุจญาฮิดีนจาฮิดีนที่ใช้ความรุนแรงเพื่อแยกแคชมีร์ออกจากอินเดียและเพื่อสถาปนารัฐอิสลาม
ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาติครั้งที่ 71 นายกรัฐมนตรีนาวาซ ชารีฟแห่งปากีสถานได้กล่าวถึงบูรฮาน วานีว่าเป็น “ผู้นำหนุ่มที่ถูกฆาตกรรมโดยกองกำลังอินเดีย” รวมทั้งยกย่องเขาว่าเป็น “สัญลักษณ์ของการลุกฮือเพื่ออิสรภาพของประชาชนชาวแคชมีร์ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งบุรุษและสตรี ผู้มีเพียงศรัทธาเป็นอาวุธและความหิวกระหายในอิสรภาพอยู่ในใจ” [8]
ร่างที่ไร้วิญญาณและเรื่องราวของเด็กหนุ่มได้กลายเป็นสมานกาย (embodiment) ของการต่อสู้เชิงอัตลักษณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์และทางเชื้อชาติศาสนาที่มีดินแดนและพลเมืองแคชมีร์เป็นเดิมพัน
References
[1] Ollapally, Deepa M. (2008) The Politics of Extremism in South Asia. Cambridge University Press: London & New York.
[2] Richards, Julian (2017) Extremism, Radicalization and Security: An Identity Theory Approach. Palgrave: London.
[3] https://www.greaterkashmir.com/article/news.aspx?story_id=222473&catid=2&mid=53&AspxAutoDetectCookieSupport=1
[4] https://qz.com/india/727911/kashmir-is-on-the-edge-after-the-death-of-22-year-old-militant-who-used-facebook-as-a-weapon/
[5] https://foreignpolicy.com/2019/02/15/pakistan-has-no-more-excuses-for-supporting-terrorism/
[6] http://www.spiegel.de/international/world/spiegel-interview-with-pervez-musharraf-pakistan-is-always-seen-as-the-rogue-a-721110.html
[7] Tom Lansford (2003). A Bitter Harvest: US Foreign Policy and Afghanistan. Ashgate Publishing, Ltd. ISBN 978-0-7546-3615-1.
[8] https://www.hindustantimes.com/india-news/full-text-of-nawaz-sharif-s-speech-at-un-general-assembly/story-bdlcijC6NbfJgnjYupBBhN.html
Photo credit :
The first anniversary of the death of rebel leader Burhan Wani in Islamabad on July 9, 2017. Photo credit should read FAROOQ NAEEM/AFP/Getty Images