ทำความรู้จักกลุ่มสุดโต่งซิกข์

โดย จตุพร สุวรรณสุขุม

นักวิจัยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เผยแพร่ครั้งแรกที่ MAPPING EXTREMISM IN SOUTH ASIA วันที่ 4 มีนาคม 2562

https://xstremarea.home.blog/2019/03/04/0403/

เมื่อพูดถึงกลุ่มสุดโต่งซิกข์คนไทยอาจคิดไม่ออกว่าลักษณะเป็นอย่างไร เนื่องจากในประเทศไทยกลุ่มชาวซิกข์ที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามานั้นมีความกลมกลืนกับวัฒนธรรม ประเพณีของไทย และสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้ตนท้องถิ่นได้อย่างไม่มีปัญหา แต่หากเราศึกษาปัญหาความรุนแรงที่กลุ่มสุดโต่งซิกข์เคลื่อนไหวในแถบเอเชียใต้ ต้นกำเนิดของความรุนแรงนั้นก็เป็นปัจจัยที่เราสามารถเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นภูมิคุ้มกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

Khalistan Movement

Khalistan Movement คือกลุ่มสุดโต่งที่มีความต้องการแบ่งแยกดินแดนเพื่อก่อตั้งประเทศ

Khalistan มีความหมายว่าดินแดนอันบริสุทธิ์ บริเวณภูมิภาคปัญจาบ (ทั้งในส่วนของอินเดียและปากีสถาน) เพื่อต้องการสร้างความเป็นเอกเทศภายใต้ดินแดนที่เป็นเชื้อสายชาวปัญจาบทั้งที่อยู่ในอินเดียและปากีสถาน นอกจากนี้ยังรวมถึงส่วนอื่นๆในประเทศอินเดียเช่น ฮายาน่า หิมาจัลประเทศ ราชาสถาน จามูและแคชเมียร์ ภายหลังการได้รับเอกราชของอินเดีย การเคลื่อนไหวจะเกิดภายใต้รูปแบบการทำงานของพรรคการเมือง Akali Dal โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือแบ่งแยกเป็นรัฐอิสระ Khalistan หรืออย่างน้อยที่สุดต้องได้สถานะเป็นรัฐอิสระภายใต้รัฐบาลอินเดีย

จากสถานการณ์การแบ่งประเทศที่ทำให้เกิดการจราจล การนองเลือด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปมเรื่องความเชื่อทางศาสนา ทางพรรคจึงใช้ประเด็นนี้ในการเรียกร้องซึ่งถูกปฏิเสธจากทางรัฐบาลอินเดีย ซึ่งในปี 1966 รัฐบาลอินเดียภายใต้การนำของนางอินทิรา คานธี ได้ตอบรับแนวคิดนี้ และให้สถานะรัฐอิสระภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลอินเดีย ซึ่งรวมถึงบางส่วนของหิมาจัลประเทศ และ จานทิกาไว้ด้วย แต่ภายหลังเมื่อการเจรจาไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ เนื่องจากการแบ่งประเทศของอินเดียมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามพื้นที่การนับถือทางศาสนา ด้วยความกังวลว่าการสร้างรัฐส่วนใหญ่ของปัญจาบจะหมายถึงการสร้างรัฐตามพื้นที่ทางศาสนารัฐบาลอินเดียเริ่มปฏิเสธข้อเรียกร้อง

ในปี 1972 พรรคการเมืองซิกข์พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งในปัญจาบปี ทำให้ Akali Dal ใช้ประเด็นการแบ่งแยกดินแดนมาเป็นข้ออ้างในการไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น และสุดท้ายนักการเมืองส่วนหนึ่งต้องลี้ภัยไปเคลื่อนไหวยังต่างประเทศ อาทิเช่นนาย Parmar ที่ต่อมาได้ติดต่อกับ Jagjit Singh Chohan นักการเมืองชาวปัญจาบพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษและเริ่มก่อตั้งกลุ่มการเคลื่อนไหวตั้งแต่1971 ภายใต้การสนับสนุนทั้งด้านการเงินและอำนาจทางการเมือง โดยเขาได้ริเริ่มการรณรงค์และเริ่มมีประเด็นความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีปัญหากับคนท้องถิ่นอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในปัญจาบ จนต่อมาได้พัฒนาเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงในปี 1983 โดยเกิดเหตุความรุนแรงระหว่างคนนับถือศาสนาซิกข์และศาสนาฮินดู มีชาวฮินดูและชาวซิกข์เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้รวมทั้งหมด 401 คน และมีผู้บาดเจ็บ 1,180 คน ต่อมามีการสังหารชาวฮินดูบนรถประจำทางจำนวน 32 คน
จากเหตุการณ์เหล่านี้รัฐบาลอินเดียได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจและกองกำลังรักษาความปลอดภัยอินเดีย เข้าไปในพื้นที่ ตั้งแต่ปี 1984 โดยกองกำลังเหล่านี้ได้ใช้ความรุนแรงตอบโต้กลับไปยังผู้หญิง และครอบครัวของผู้ร่วมขบวนการ โดยจากการรายงานขององค์การสิทธิมนุษย์ชนโลก ได้รายงานถึงความรุนแรงที่รัฐบาลอินเดียใช้ในการปราบปรามกลุ่มเคลื่อนไหวสร้างความรุนแรง และเป็นเหตุให้เกิดการแก้แค้นต่อผู้หญิงชาวซิกข์ กลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชน Punjab Rights Forum รายงานว่ามีหญิงชาวซิกข์ ถูกข่มขืน และรุมโทรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและกองกำลังรักษาความปลอดภัยอินเดีย โดยในการกระทำครั้งนี้มีผู้ที่ไม่มีส่วนรู้เห็นถูกทรมาน กักขัง ข่มขืน เพื่อบังคับให้บอกข้อมูลของสมาชิกในครอบครัวที่ร่วมขบนการ จนเป็นเหตุให้มีการตัดสิน จำคุกตำรวจรัฐปัญจาบในปี 1998

จากเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดกองกำลังชาวซิกข์เกิดขึ้นมากมาย เช่น Khalistan Commando Force, Khalistan Zindabad Force, Khalistan Liberation Force, สถานการณ์ความรุนแรงดูเหมือนจะเพิ่มความรุนแรง รัฐบาลอินเดียโดยการนำของนางอินทิรา คานธี ได้ก่อตั้ง Bluestar เป็นปฏิบัติการทางการทหารของอินเดียดำเนินการระหว่างวันที่ 1 และ 8 มิถุนายน 1984 ได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีอินทิรา คานธีเพื่อกำจัดผู้นำศาสนา Jarnail Singh Bhindranwale และผู้นำติดอาวุธของ Harmandir และจากเหตุการณ์ความรุนแรงนี้เองเป็นผลให้เกิดการลอบสังหารนางอินทิรา คานธี โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเชื้อสายซิกข์ของเธอเอง ในตอนเช้าของวันที่ 31 ตุลาคม 1984 การลอบสังหารในครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดความรุนแรงต่อชาวซิกข์อย่างรุนแรงทั่วอินเดียตอนเหนือ

ในขณะที่พรรคฝ่ายปกครองในสภาคองเกรสยืนยันว่าความรุนแรงนั้นเกิดจากการจลาจล สถานการณ์ความรุนแรงเริ่มมีการตอบโต้ และแพร่กระจายไปสู่การสร้างความรุนแรงภายนอกประเทศจนเกิดเหตุการณ์ วางระเบิดเครื่องบินเที่ยวบินที่ 132 คานาดา – มุมไบ ที่เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 329 คน เป็นชาวคานาดา 280 ชีวิต ชาวอินเดีย 22 ชีวิต โดยกลุ่มต้องสงสัยคือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวซิกข์ข์ที่ชื่อว่า Babbar Khalsa
รัฐบาลกลางพยายามหาทางแก้ปัญหาทางการเมืองผ่าน Rajiv – Longowal Accord ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างช่วงนายกรัฐมนตรีรายีฟคานธีและ Harchand Singh Longowal ซึ่งเป็นประธานาธิบดีของคาลิสฐาน Akali Dal โดยข้อตกลงดังกล่าวยอมรับความต้องการทางศาสนาดินแดนและเศรษฐกิจของชาวซิกข์ ข้อตกลงนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นได้หากอยู่ภายใต้การดำรงตำแหน่งของนางอินทิรา คานธี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำหรับการกลับสู่ภาวะปกติ แต่มันก็ถูกประณามจากกลุ่มก่อการร้ายซิกห์บางคนที่ปฏิเสธที่จะยกเลิกข้อเรียกร้องของ Khalistan ที่เป็นอิสระ จนเป็นเหตุให้ Harchand Singh Longowal ถูกลอบสังหารโดยกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา

ในปี 1999 จากบทความ ชื่อ “It is fundamentalism again” ได้กล่าวถึงมวลชนในรัฐปัญจาบ ที่ไม่ให้การสนับสนุนกลุ่มใช้ความรุนแรงและมีแนวทางการต่อสู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณีเข้ามาแทน และด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบนี้ทำให้การสนับสนุนจากทั้งคนพลัดถิ่นลดลงไปด้วย ปี 2015 ได้มีการเรียกร้องจากชุมชนชาวปัญจาบให้รัฐบาลยอมรัฐธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติ จนกระทั่งปี 1992 การจลาจลค่อยๆ ลดความรุนแรง เป็นผลให้การเคลื่อนไหวประสบความล้มเหลว จากการใช้แนวทางการเมืองในการแก้ปัญหาจากทางรัฐบาลและขาดการสนับสนุนจากกลุ่มคนชาวซิกข์ ตลอดจนการปราบปรามผู้นำการแบ่งแยกอย่างหนัก หรือจะเป็นการขาดแนวทางการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ไม่มีแนวทางในการต่อสู้ที่ชัดเจน ทำให้ขาดการสนับสนุนจากชาวปัญจาบพลัดถิ่น

สถานการณ์ปัจจุบัน

สถานการณ์ในปัญจาบโดยทั่วไปถือว่าสงบและการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Khalistan ก็อ่อนแอลงอย่างมาก ชุมชนซิกข์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตนเองและมีการหลอมรวมเข้ากับสังคมในพื้นที่ที่เป็นสากล 

องค์กรบางแห่งอ้างว่าหน่วยงานและปัญหาทางสังคมยังคงมีอยู่ในพื้นที่ชนบท แต่สถานการณ์ปัจจุบันยังคงอยู่ในความสงบ แม้ว่าสถานการณ์ในปัญจาบจะเป็นเรื่องปกติการพัฒนาล่าสุดเป็นเรื่องที่น่าหนักใจและเป็นสัญญาณข่าวร้ายสำหรับอินเดีย ข้อมูลมีการเปิดเผยเกี่ยวกับการฟื้นตัวของขบวนการ Khalistan โดยกลุ่มคนหัวรุนแรงซิกข์ที่ดำเนินงานจากประเทศอื่น ๆ ภายนอกประเทศอินเดีย อินเดียได้เตือนสหรัฐเกี่ยวกับบทบาทของโปร – คาลิสถานในการเปิดตัวรัฐสภาคองเกรสในสหรัฐอเมริกา ได้รับการยืนยันว่านักเคลื่อนไหวหลักของกลุ่มพรรคซิกข์คือกลุ่มนักเคลื่อนไหวของ Khalistani พยายามที่จะรื้อฟื้นการแบ่งแยกดินแดน นอกจากนี้ยังมีความกังวลเพิ่มขึ้นว่าจะเกิดการโจมตีระลอกใหม่

ในปี 2015 Gurdaspur มีความพยายามที่จะฟื้นฟูการเคลื่อนไหว Khalistan เมื่อไม่นานมานี้มีสัญญาณหลายอย่างที่ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ Khalistan เช่น ในวันครบรอบ 31 ปีของการดำเนินงาน Bluestar เยาวชนชาวซิกข์ 25 คนถูกกักตัวไว้โดยตำรวจ แม้พวกเขาจะพำนักอาศัยอยู่นอกประเทศอินเดีย แต่ก็มีความรู้สึกผูกพันในหมู่ชาวซิกข์ต่อวัฒนธรรมและศาสนาของพวกเขา มีความต้องการอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมสำหรับชาวซิกข์ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ

ในช่วงจุดสูงสุดของขบวนการ Khalistan ในบางแง่การที่ชาวซิกข์พลัดถิ่นถูกมองว่าเป็นผู้ถือคบเพลิงในขบวนการ Khalistan ซึ่งสามารถฟื้นฟูขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้ แต่คบเพลิงนี้อาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปในแนวทางอื่นๆ เช่น การแพร่กระจายในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ที่ต้องจับตาต่อไป

หากพิจารณาจากลำดับเหตุการณ์จะเห็นได้ว่า ปัญหาทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นจากอุดมการณ์ทางการเมือง ที่แบ่งแยกกลุ่มคน และจัดหมวดหมู่ให้ความเป็นมนุษย์เกิดความไม่เท่าเทียม จนเป็นข้ออ้างในการใช้เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ให้นักการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ และเมื่อไม่ได้รับความสนใจการใช้ความรุนแรงเป็นแนวทางที่เรียกร้องได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีผลกระทบที่รุนแรงติดตามมาด้วยเช่นกัน และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ครั้งนี้คือ ความรุนแรงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ รังแต่จะทำให้เกิดปมปัญหาและความขัดแย้งมากขึ้นในอนาคต

จากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าการใช้การเมืองแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดจากการเมืองก็เป็นอีกแนวทางที่น่าสนใจ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับบริบทและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละประเทศด้วย ดังนั้นทางออกอีกอย่างที่เห็นจากบทเรียนความรุนแรงในครั้งนี้คือการใช้ความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรมและประเพณีมาเป็นจุดเชื่อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ การยอมรับในความแตกต่างเป็นแนวทางที่สมควรที่จะส่งเสริมให้เป็นค่านิยมสำหรับเยาวชน คนรุ่นใหม่ เพื่อที่จะสามารถใช้เป็นภูมิคุ้มกันจากการชักจูงให้หลงไปกับอคติและความเชื่อต่างๆ ในสังคม

References

– Why Sikh separatism has re-emerged as a flashpoint in Canadian politics
https://nationalpost.com/news/politics/why-has-jagmeet-singh-struggled-to-address-issues-of-sikh-separatism

– How Punjab is threatened by revival of Khalistan movement, considered defeated in 1990s
https://www.indiatoday.in/magazine/nation/story/20170626-khalistan-punjab-terrorism-extremist-sikh-outfits-986585-2017-06-19

– Khalistan_movement
https://en.wikipedia.org/wiki/Khalistan_movement

Photo credit :

– Global Village Space https://www.globalvillagespace.com/fear-of-khalistan-india-demands-uk-to-disallow-social-justice-meet/

– https://whatholdsthefuture.blogspot.com/2015/08/global-resurgence-of-khalistan-movement.html

– http://www.dnanews.com.pk/sikh-justice-sfj-accuses-india-attack-chinese-consulate-karachi/

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *