คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการกระทำของชาวมุสลิมหรือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีต่อผู้นับถือศาสนาอื่น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ก็มีแนวคิดสุดโต่งด้วยเช่นกัน ดังที่จะเห็นได้จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ชาวพุทธในประเทศศรีลังกาและเมียนมา กระทำต่อผู้ที่นับถือศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสนาอิสลาม แม้กระทั่งในประเทศไทยเอง ก็มีการแสดงออกที่สะท้อนลัทธิสุดโต่งด้วย เพียงแต่การกระทำเหล่านั้น รับรู้กันในวงจำกัด
Politics
ขณะเรา “เคลื่อนวิถีโลก” และ “ผลักวิธีคิด” ของผู้คนไปสบตา “สันติภาพ” และความสวยงามของ “สันติวิธี” วันที่ 15 มีนาคม 2562 เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็ “ถีบ” เรากลับไปจมดิ่งใต้วงล้อมของความรุนแรงอีกรอบ เมื่อกระบอกปืน “เปล่งเสียง” และ “เหนี่ยวไก” เร็วกว่า “งานสันติภาพ” ที่เรากำลังเข้าใกล้ ส่งผลให้ผู้คน 49 ชีวิตล้มตายและบาดเจ็บกว่า 40 คนด้วยการถูกกราดยิงในมัสยิดในวันศุกร์
เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา ภาพของกลุ่มพระภิกษุในเมียนมาออกมาร่วมประท้วงร่วมกับชาวพุทธเพื่อเรียกร้องและผลักดันให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาออกนอกประเทศ การก่อการจราจลและการใช้ความรุนแรงของชาวพุทธในเมียนมาต่อชาวมุสลิมในเมียนมา ทำให้มีการตั้งคำถามถึงแนวคิดของพุทธศาสนา ที่เน้นเรื่องความไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่น แต่เหตุใดพระภิกษุสงฆ์ถึงมาร่วมในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ด้วย
รากฐานของความวุ่นวายของสังคมมุสลิมในปัจจุบัน มิได้เกิดจากตัวบทของศาสนา แต่เกิดจากผู้ใช้หลักการทางศาสนาครึ่งใบในการนำแนวคิดการต่อสู้ และใช้ความรุนแรงโดยอ้างศาสนามาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงทางความคิด เปลี่ยนแปลงอุดุมการณ์ จนสร้างกลุ่มก้อนของแนวคิดสุดโต่งในสังคม เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จนนำมาสู่การใช้ความรุนแรงตอบโต้กัน
โดย จตุพร สุวรรณสุขุม นักวิจัยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ครั้งแรกที่ MAPPING EXTREMISM IN SOUTH ASIA วันที่ 4 มีนาคม 2562 https://xstremarea.home.blog/2019/03/04/0403/ เมื่อพูดถึงกลุ่มสุดโต่งซิกข์คนไทยอาจคิดไม่ออกว่าลักษณะเป็นอย่างไร เนื่องจากในประเทศไทยกลุ่มชาวซิกข์ที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามานั้นมีความกลมกลืนกับวัฒนธรรม ประเพณีของไทย และสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้ตนท้องถิ่นได้อย่างไม่มีปัญหา แต่หากเราศึกษาปัญหาความรุนแรงที่กลุ่มสุดโต่งซิกข์เคลื่อนไหวในแถบเอเชียใต้ ต้นกำเนิดของความรุนแรงนั้นก็เป็นปัจจัยที่เราสามารถเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นภูมิคุ้มกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต Khalistan Movement Khalistan Movement คือกลุ่มสุดโต่งที่มีความต้องการแบ่งแยกดินแดนเพื่อก่อตั้งประเทศ Khalistan มีความหมายว่าดินแดนอันบริสุทธิ์ บริเวณภูมิภาคปัญจาบ (ทั้งในส่วนของอินเดียและปากีสถาน) เพื่อต้องการสร้างความเป็นเอกเทศภายใต้ดินแดนที่เป็นเชื้อสายชาวปัญจาบทั้งที่อยู่ในอินเดียและปากีสถาน นอกจากนี้ยังรวมถึงส่วนอื่นๆในประเทศอินเดียเช่น ฮายาน่า หิมาจัลประเทศ ราชาสถาน จามูและแคชเมียร์ ภายหลังการได้รับเอกราชของอินเดีย การเคลื่อนไหวจะเกิดภายใต้รูปแบบการทำงานของพรรคการเมือง Akali Dal โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือแบ่งแยกเป็นรัฐอิสระ Khalistan หรืออย่างน้อยที่สุดต้องได้สถานะเป็นรัฐอิสระภายใต้รัฐบาลอินเดีย จากสถานการณ์การแบ่งประเทศที่ทำให้เกิดการจราจล การนองเลือด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปมเรื่องความเชื่อทางศาสนา ทางพรรคจึงใช้ประเด็นนี้ในการเรียกร้องซึ่งถูกปฏิเสธจากทางรัฐบาลอินเดีย […]
สาเหตุของความตึงเครียดระหว่างอินเดียกับปากีสถาน จนนำไปสู่การตอบโต้ทางทหาร และอาจเป็นประเด็นที่จะเป็นฉนวนสงคราม คือ ปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้าย Jaish-e-Mohammad, JeM (ทหารของศาสดามูฮำหมัด) ซึ่งได้ก่อการร้ายในเมือง Pulwawa ในแคว้นแคชเมียร์ของอินเดียในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นความรุนแรงในรอบหลายสิบปีที่ประสบต่อคนที่สำคัญด้านความมั่นคงของอินเดีย
ความรุนแรงในแคชมีร์ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ชื่อของบูรฮาน วานี (Burhan Wani) เด็กหนุ่มจากเมืองปุลวามาก็ได้รับการเอ่ยถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งจากสื่อมวลชนและประชาชนในพื้นที่ในฐานะอดีตหัวหน้านักรบของกองกำลังปลดแอกแคชมีร์ ฮิซบัลมุจญาฮิดีน (Hizb-ul-Mujahideen) ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแคชมีร์ ณ ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในประเทศซีเรีย ชามิน่า เบกุม เด็กสาวสัญชาติอังกฤษเชื้อสายบังกลาเทศหนึ่งในเด็กสาวสามคนจากเขตเบทนัลกรีนในกรุงลอนดอนที่หายตัวจากบ้านไปเพื่อเข้าร่วมขบวนการไอเอส (IS – Islamic State) ในประเทศซีเรียก็กำลังพยายามร้องขอต่อรัฐบาลอังกฤษเช่นกัน น่าสนใจว่าอะไรคือแรงกระตุ้นที่ทำให้คนหรือสังคมหนึ่งๆ มีใจโน้มเอียงไปทางแนวคิดสุดโต่ง?
ภายใต้สถานการณ์เปราะบางของศรีลังกาเช่นนี้ สื่อหลาย ๆ สำนัก พยายามนำเสนอในรูปของการชี้ประเด็นและชี้ชัดว่าใคร กลุ่มไหน และขับเคลื่อนด้วยวิธีใด แต่เรื่องดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ สื่อของศรีลังกา จึงไม่พยายาม “ฟันธง” แบบด่วนสรุป เพราะชาวศรีลังการู้ดีว่า การนำเสนอแบบฟันธงอาจก่อให้เกิดความรุนแรงตอบโต้ตามมา จนอาจลุกลามไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่เคยเกิดขึ้นระหว่างสิงหลและทมิฬในอดีตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับจินตนาการว่าด้วยความเป็นพลเมืองในรัฐชาติเดียวกันอย่างไร? ประวัติศาสตร์นั้นเป็นโครงสร้างของเรื่องเล่าที่ทำหน้าที่ในการค้ำชู“ความเป็นชาติ” ผ่านเรื่องเล่าต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ในสังคม ต่อเรื่องเล่าเหล่านี้ยังได้กลายมาเป็นจินตนาการที่ทำให้ปัจเจกมองเห็นตนเองในฐานะพลเมืองของชาติหนึ่งๆ ผ่านการคัดส่วนที่ใช้ได้และคัดทิ้งความจริงหลายส่วนออกไป
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2562 อิมราน ข่าน (Imran Khan) นายกรัฐมนตรีของปากีสถานออกเดินทางไปยังกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เพื่อเข้าพบประธานาธิบดีของอิหร่าน ดร. ฮัสซัน โรฮานี (Dr. Hassan Rouhani) แม้เหตุผลการเดินทางในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในฐานะคนกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและซาอุดิอาราเบีย แต่ประเด็นหลักที่สำหรับอิมราน ข่าน คือ “ปัญหาแคชเมียร์” ทำให้การพบปะระหว่างอิมราน ข่านและโรฮานีครั้งนี้ “ประเด็นแคชเมียร์” จึงเป็นหัวข้อการแลกเปลี่ยนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้