โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ ฉัตราติชาต
ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่ำวันหนึ่งได้รับโทรศัพท์จาก Valentina อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งชาติมอลโดวา ผู้ประสานงานโครงการ LABOUR Project ที่เราได้รับทุน อาจารย์บอกว่า
“Waraporn, please be at National Museum of Ethnography and Natural History at 9 O’ clock. I’ll connect you with the museum staff.”
โห ตื่นตกใจ แบบไม่ทันตั้งตัว รีบหาข้อมูลการเดินทางในทันที
National Museum of Ethnography and Natural History เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดในมอลโดวา โดยเริ่มจากการเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตรตั้งแต่ปี 1889 และค่อยๆ ขยายมาสู่เรื่องธรรมชาติ วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นของบริเวณที่เรียกว่า Bessarabia ซึ่งปัจจุบันก็คือมอลโดวา ส่วนอาคารหลังปัจจุบันนี้ สร้างขึ้นในปี 1903 – 1905 โดยสถาปนิกชื่อ Vladimir Tsiganko โดยเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Mauritanian Style ซึ่งมีผู้เขียนอธิบายถึงสถาปัตยกรรมแบบนี้ไว้ในเว็บไซต์ Design+Encyclopedia พอจะสามารถสรุปได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากหลากหลายวัฒนธรรมทั้ง Berber และ Tuareg ในแอฟริกาเหนือ วัฒนธรรมอาหรับ วัฒนธรรมแขกมัวร์ ดังนั้นเราจะเห็นได้ถึงองค์ประกอบแบบอิสลามเช่น โดม รูปทรงเลขาคณิต และโมทีฟลายเส้นต่าง ๆ (calligraphic motifs) รวมไปถึงอิทธิพลจากฝรั่งเศสหรือสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ที่เน้นระเบียงและงานแกะสลักหินที่หรูหรา
พื้นที่จัดแสดงของพิพิธภัณฑ์นั้น แบ่งเป็น 5 โถงใหญ่ ๆ และ 3 ห้องเล็ก โดยนิทรรศการถาวรชุดปัจจุบันนี้ เริ่มจัดแสดงตั้งแต่ปี 1994 ด้วยแนวคิด “ธรรมชาติ มนุษย์และวัฒนธรรม” (Nature, Man, Culture) สลับกับนิทรรศการหมุนเวียนที่แทรกอยู่ตามโซนอื่นๆ ด้วย
เมื่อเราเดินเข้าไปโถงกลางที่เป็นจุดหลักเมื่อเราเดินเข้ามา จะมีทั้งนิทรรศการถาวรที่แสดงประเพณีท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรมและข้อมูลของศิลปินหรือชาวบ้านที่ถือว่าเป็น Master ด้านนั้น ๆ พร้อมกับมีโซนนิทรรศการเวียน ที่ตอนนี้เป็นการจัดแสดงวัตถุโบราณจาก Monastery เก่าแก่ของประเทศมอลโดวาที่หาดูได้ยาก
ส่วนด้านปีกขวาของอาคารจะเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ (สัตว์ พืช ดิน ภูมิประเทศ เป็นต้น) และด้านปีกซ้ายจะเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ
การเดินชมสิ่งจัดแสดง ก็ทำให้รู้จักประเพณีท้องถิ่นมากมาย เช่น Martsishor (Mărțișor) Feast เป็นช่วงเวลาที่ชาวมอลโดวา จะผูกเครื่องรางที่ทำมาจากเชือกสีขาวและแดง ในเดือนมีนาคม เพื่อเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิ และเชื่อว่าสัญลักษณ์นี้จะช่วยป้องกันอันตรายจากวิญญาณร้ายได้ พอครบ 1 เดือน ก็จะเอาเครื่องรางนี้ ไปแขวนไว้ที่ต้นไม้ โดยปกติ ทุกคนจะทำเครื่องรางด้วยตนเอง จะรูปแบบใดก็ได้ ขอแค่ให้มีสีขาวและแดง แต่ตอนนี้มีเครื่องรางที่มาจากเมืองจีนขายทั่วไปแทนแล้ว เพราะชาวมอลโดวาเริ่มไม่ทำเครื่องรางเอง
หรือเทศกาล Paștele Blajinilor แปลตรงตัวได้ว่า Easter of the Kind-Hearted นั่นคือ ช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากวันอีสเตอร์ ชาวคริสต์ออร์โธดอกซ์มอลโดวาจะไปที่สุสานเพื่อแสดงความเคารพและระลึกถึงญาติที่เสียชีวิต แล้วก็มีการแลกของขวัญกันในบรรดาผู้ที่ไปร่วมแสดงความไว้อาลัย ก็คล้าย ๆ ชาวไทยเชื้อสายจีนไปเชงเม้งในช่วงเดือนเมษายน น่าเสียดายตรงที่ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีอธิบายในโซนจัดแสดง เราได้ข้อมูลเหล่านี้จากคุณ Mihaela Muzeu เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เป็นผู้นำชมและอธิบายเพิ่มเติม
นอกจากนี้ โถงกลางจะมี Projector mapping และ Light and Sound ที่เล่าถึง Tree of Life ซึ่งเป็นสัญลักษณ์โบราณที่เป็นตัวแทนของวัฏจักรของชีวิต หมายถึงความเชื่อมโยงระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ และความเป็นนิรันดร์ในความเชื่อของคริสต์ศาสนา ความสำคัญของ Tree of Life ยังสะท้อนเป็นแพทเทิร์นของศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน รวมไปถึงโลโก้ของแบรนด์ประเทศมอลโดวา (Country Brand) อีกด้วย
อุปกรณ์ชุด Projector Mapping นี้ ยังมีลูกเล่นที่ให้ผู้เข้าชมมีปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเซ็นเซอร์ ที่ทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนสีและแสงบน Tree of Life อุปกรณ์ชุดนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ โลโก้ที่เด่นชัดคือ USAID รัฐบาลสวีเดน และ UKaid ที่สำคัญคือผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Muzeele Viitorului (Future Museums) หรือพิพิธภัณฑ์สำหรับอนาคต (เรื่องนี้ขออุบไว้ก่อน ยังไม่เล่าตอนนี้จะขยายเป็นอีกเรื่องแบบเน้นๆ กันไปเลยวันหลัง)
ตัวแอพนี้ เคยได้ใช้ตอนไปดูนิทรรศการภาพวาดของ David Hockney ที่ Museum of Contemporary Art Tokyo แล้ว ตอนนั้นก็แอบตื่นเต้น และพอได้มาเล่นที่นี่อีก ก็สนุกดี ได้เรียนรู้ผ่านเรื่องเล่าที่มีทั้งภาพและเสียง
แน่นอนว่า National Museum of Ethnography and Natural History ก็ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังเช่นเคย ผู้พิการทางการมองเห็นและการได้ยินก็สามารถเรียนรู้และเข้าใจนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย Audio Description (AD) และคลิปภาษามือ ด้วยการสแกน QR Code ที่ติดไว้ในโซนต่างๆ รอบพิพิธภัณฑ์ ซึ่งถือว่าดีจริงๆ ทางเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ก็นำเสนอเรื่องนี้ด้วยความภาคภูมิใจเช่นกัน
เราชวนคุณ Mihaela คุยต่อถึงการมาทำงานในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เธอเพิ่งมาทำงานได้ 3 ปี เธอยอมรับว่าเป็นสายงานที่ค่าตอบแทนไม่สูง (รวมไปถึงงานเกี่ยวกับศิลปะแทบทั้งหมดในประเทศมอลโดวา) แต่ที่เธอยังทำให้กับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพราะความสุขและความพอใจส่วนตัว เธอรู้สึกตื่นเต้นที่ได้จัดแสดงหรือนำเสนอสิ่งใหม่ๆ หรือเรื่องราวที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อนให้ผู้ชมได้รับรู้ผ่านนิทรรศการต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ นี่สินะที่เรียกกันว่า ของบางอย่างรับรู้ได้ด้วยใจ เงินหรือค่าตอบแทนใดๆ ก็ไม่อาจจะมาทดแทนกันได้
แม้ว่าการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะไม่มีการบรรยายหรือให้ข้อมูลมากมาย และบางจุดก็ไม่มีภาษาอังกฤษ สำหรับเราถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ควรค่าแก่การมาชม แค่ตัวอาคาร กระจกสีทั้งหน้าต่างและหลังคา รวมไปถึงกระเบื้องปูพื้นก็ถือเป็นไฮไลท์สำคัญอย่างหนึ่งของพิพิธภัณฑ์นี้แล้ว
Muzeul Național de Etnografie și Istorie Naturală (National Museum of Ethnography and Natural History) is the oldest museum in Moldova. “Nature, Man, Culture” is the main theme of its permanent exhibition. Visitors can learn both nature and culture from this museum. Apart from the historical objects, the museum incorporates technology to engage visitors and bring life to the museum. The project mapping with light and sound on its “Tree of Life” in the central hall and augmented reality through ARTIVIVE application in the far-left hall help educating and entertaining visitors at the same time. Another great part of this museum is that, it provides Audio Description (AD) and short clips of sign language to support disabled people. It might be difficult for non-Romanian speaking visitors to thoroughly understand the exhibition; however, it is one of ‘must-visit’ museums in Chisinau. The building itself is magnificent – to be considered as one of the highlights of this museum.
This museum not only brings joy to visitors like me, but also brings satisfaction and esteem to its staff. Ms Mihaela Muzeu, the museum officer, mentioned her excitement whenever the museum exhibits the new collection, or uncovers new objects to the public. During the time I spent with her (even briefly), I could see that she was proud of her work. And I am so happy and fortunate to be here to learn Moldavian culture from her.
บทความนี้เป็นประสบการณ์จากการเดินทางในฐานะนักวิจัยแลกเปลี่ยน ภายใต้โครงการ Marie Curie Research and Innovation Staff Exchange scheme within the H2020 Programme (LABOUR Project)