โตบา เตก ซิงห์ ของ ซะอาดัต ฮะซัน มันโตเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกๆ พูดถึงเหตุการณ์การแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานและยังถือว่าเป็นงานเขียนที่ทรงพลังมากที่สุดชิ้นหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ในครั้งนั้น เรื่องสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์การแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานโดยใช้ฉากในโรงพยาบาลบ้าป็นทั้งการเปรียบเปรยและเสียดสีของโศกนาฏกรรมแห่งความวิปลาสครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
Yearly Archives: 2020
โดย ดร.บัณฑิต อารอมัน นักวิจัยประจำศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 2020 คือวาระครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีการ์ (Aligarh Muslim University) นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 โดย เซอร์ ชัยยิด อะหมัด ข่าน (Sir Syed Ahmad Khan) รัฐบุรุษและนักปฏิวัติมุสลิมคนสำคัญ ช่วงเวลาในขณะนั้นอินเดียยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงการปฏิรูปการศึกษามุสลิมในอินเดีย เซอร์ ชัยยิด อะหมัด ข่าน จึงเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกระลึกถึงและได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้จุดแสงสว่างแห่งวงการศึกษามุสลิมและเปลี่ยนแปลงสังคมมุสลิมในอินเดียด้วยอาวุธทางปัญญาเซอร์ ชัยยิด อะหมัด ข่าน เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 1817 ในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ครอบครัวสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ โมกุล (Mughal) ยศตำแหน่งของเซอร์ ชัยยิด อะหมัด […]
การหวานคืนสู่อำนาจของตระกูล “ราชปักษา” ครั้งยิ่งใหญ่ ได้นำมาซึ่งคำถามว่า ศรีลังกากำลังเผชิญหน้ากับความท้ายทายที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ความเป็นประชาธิปไตยของชาวศรีลังกากำลังอยู่ในภาวะวิกฤติหรือไม่ การเดินเกมทางการเมืองของตระกูล“ ราชปักษา” ล้วนแล้วแต่เป็นความท้าทายและมีนัยสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศในอนาคตทั้งสิ้น การเดินเกมทางการเมืองของตระกูล“ ราชปักษา” จะกลับมามีอำนาจเบ็ดเสร็จในการเมืองของศรีลังกาหรือไม่ คำถามเหล่านี้กำลังเป็นคำถามที่สำคัญและเป็นประเด็นร้อนแรงในการเมืองศรีลังกา
สุนทรพจน์วันที่ 7 มีนาคมชิ้นนี้ถือเป็นคำประกาศเอกราชของบังกลาเทศ และได้รับการยกย่องว่าเป็นสุนทรพจน์ที่บันทึกความทรงจำสำคัญของมนุษยชาติ นอกเหนือจากการปลุกแรงใจให้ประชาชนลุกขึ้นมาพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพของประเทศชาติและตนเองแล้ว ท่านมูญีบุรฺยังได้ให้เค้าโครงที่สำคัญของรัฐในอุดมคติแก่บังกลาเทศและมนุษยชาติ
เมื่อปีคริสตศักราช 1582 สมเด็จพระจักพรรดิอักบัรแห่งราชวงศ์มุฆัลได้ตัดสินใจส่งราชทูต คือ ท่านซัยยิด มูซัฟฟัรและท่านอัลดุลลอฮฺ ข่านให้เดินทางไปยังเมืองโกอาและกรุงลิสบอนพร้อมกับคณะนักบวชเยซูอิต เพื่อถวายพระพรชัยแด่พระเจ้าฟิลิปที่สองแห่งสเปนที่เพิ่งจะได้ขึ้นเถลิงราชเป็นพระเจ้าฟิลิปที่หนึ่งแห่งโปรตุเกส แม้ว่าพระราชสาสน์ฉบับนี้จะไม่ได้มีโอกาสเดินทางไปถึงราชสำนักสเปนและโปรตุเกส แต่เนื้อความของพระราชสาสน์ที่ถูกถ่ายความสู่นานาภาษาในกาลต่อมานั้น ถือเป็นวาทนิพนธ์ชั้นยอดที่แสดงให้เห็นถึงความแยบยลทางการทูตและวิสัยทัศน์กว้างไกลของพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์มุฆัลพระองค์นี้
ข้อพิพาทเขตแดนระหว่างอินเดียกับเนปาลปะทุขึ้นหลังจากสภาเนปาลมีมติเห็นชอบต่อการกำหนดเขตแผนที่ประเทศขึ้นใหม่ ซี่งมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเนปาล ติดกับพรมแดนที่กั้นระหว่างจีนและอินเดีย เป็นที่น่าจับตามมองว่าข้อพิพาทในครั้งนี้จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับเนปาลอย่างไร
เมื่อวันที่ 8 – 10 มิถุนายน 2563 ได้มีการประชุมสุดยอดผู้นำรุ่นใหม่ The 3rd ASEAN–India Youth Dialogue สาระสำคัญของการประชุมมุ่งประเด็นไปที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในแง่สภาพการณ์ปัจจุบัน มาตราการจากภาครัฐ รวมถึงการเข้าไปมีบทบาททางสังคมของคนรุ่นใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีใคร หรือประเทศใด ที่กำลังต่อสู้กับวิกฤติโรคระบาดนี้เพียงลำพัง
ประเทศไทยกำลังจะได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมสุดยอดผู้นำ BIMSTEC ดังนั้นจึงควรเตรียมความพร้อม แสวงหาและสร้างโอกาสให้ประเทศ ไทยก้าวไกลในอ่าวเบงกอล
ภูมิภาคเอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากที่สุดในโลกสถานการณ์การแผ่กระจายเชื้อโควิด 19 ทำให้แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้กำลังเผชิญกับอุปสรรคทั้งในแง่ของการใช้มาตรการป้องกันการแพร่กระจายและผลกระทบทางเศรษฐกิจครั้งใหม่
แคมเปญ “Finally I Can See God!” หรือ “ในที่สุด ฉันก็เห็นเทพเจ้า” เป็นแคมเปญที่ทำขึ้นโดยบริษัทโฆษณาเล็ก ๆ ชื่อ Kanade Advertising ตั้งอยู่เมือง Ichalkaranji รัฐ Maharashtra ประเทศอินเดีย เพื่อโปรโมตบริษัทตัวเอง ผ่านการรณรงค์เกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าในประเทศอินเดีย